Page 84 - kpiebook63011
P. 84

84    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่








                      รูปแบบที่ปรากฎในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งอีกประการที่มาพร้อม ๆ กับการเติบโตของสื่อออนไลน์คือ

             เมื่อพรรคการเมืองใดไม่สามารถฝ่ากระแสความนิยมต่อพรรคอื่น การสร้างกระแส มายาคติ และข่าวปลอมจึงกลายเป็น
             ยุทธศาสตร์ในการต่อสู้ของพื้นที่การเมืองภาคเหนือ “…หากเพิ่มคะแนนเสียงไม่ได้ ก็ต้องท�าให้คะแนนคู่ต่อสู้

             ไม่เพิ่มขึ้น…” (สัมภาษณ์แกนนำาพรรคการเมือง 5 มีนาคม 2562) ปรากฏการณ์การสร้างมายาคติ “การเลือกตั้ง
             จัดตั้ง” คือ ข้อความของผู้สมัครรับเลือกตั้งและหัวคะแนนใช้ในการจุดประเด็นต่อสู้ในพื้นที่ ซึ่งมีผลทำาให้

             ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีความวิตก หวาดระแวงกับการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 จึงเป็น
             ที่มาของการหาเสียงและสร้างกลยุทธ์การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่ต้องแชร์คะแนนเสียง ประชาชนให้ข้อมูลว่า

             พวกเขาชอบพรรคการเมืองหนึ่งแต่จะลงคะแนนให้อีกพรรคหนึ่งเพื่อให้พรรคที่ชอบได้ที่นั่งในบัญชีรายชื่อ แม้แต่
             ข้อมูลที่ได้จากประชาชนที่เชื่อว่า “เลือกพรรค (...) นี้ไป เพราะเค้าบอกว่าคนนี้จะไปช่วยหัวหน้าพรรค (...)

             อีกพรรคหนึ่งได้” ความเข้าใจของประชาชนในพื้นที่รอบนอกตัวเมือง เป็นความเข้าใจจากกระแสการเมือง
             ทั้งจากสื่อ การหาเสียง การบอกเล่า แม้แต่กระทั่งผู้นำาชุมชน โดยข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับผลประโยชน์

             พรรคแทบทั้งสิ้น ไม่ใช่ข้อมูลในเรื่องของความรู้กฎเกณฑ์เกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งหรือข้อมูลพรรคการเมือง
             อย่างเป็นทางการ


                      จากข้อมูลที่ได้มีการสำารวจในพื้นที่เชียงใหม่พบว่า การมีบัตรเลือกตั้ง 1 ใบทำาให้ผู้ลงคะแนนเสียง

             เลือกตั้งครุ่นคิดกับคะแนนเสียงของตัวเองมากขึ้น เพราะน้อยมากที่จะพบว่ามีใครที่มีสมการการลงคะแนนออกมา
             ได้ลงตัวครบสิ่งที่ชอบทั้ง 3 ประเด็นคือ ผู้สมัคร พรรคการเมือง และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี จากข้อมูลพบว่า

             ผู้มีสิทธิลงคะแนนส่วนมากตัดสินใจเลือกจากพรรคการเมือง ซึ่งนำาไปสู่การมองนโยบายและผู้นำาพรรคเป็นหลัก
             ระบบการเลือกตั้งนี้แม้จะไม่ได้ทำาให้เกิดพรรคใหญ่แต่ตอกยำ้าความผูกพันของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองมากขึ้น


                      แผนภาพ 4.3  แผนภาพแสดงสัดส่วนของคะแนนการเลือกตั้งของพรรคการเมืองที่ได้คะแนนสูงสุด
             3 อันดับแรกของจังหวัดเชียงใหม่ ในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562



                                                 77,607 (7.1%)              377,292 (34.7%)
                                173,229 (15.9%)                        (ถ้าปรับคะแนนเลือกตั้งใหม่ = 29.9%)











                                                                           254,097 (23.4%)
                                                                       (ถ้าปรับคะแนนเลือกตั้งใหม่ = 27.7%
                                      204,080 (18.8%)
                                (ถ้าปรับคะแนนตามเลือกตั้งใหม่ = 15.2%)

                                   พรรคเพื่อไทย  พรรคอนาคตใหม่  พรรคพลังประชารัฐ  พรรคอื่นๆ  บัตรเสียและไม่ประสงค์ลงคะแนน

                                  ที่มา  จากการประมวลผลการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและจัดทำแผนภาพโดยผู้วิจัย
                      ที่มา  จากการประมวลผลการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและจัดทำาแผนภาพโดยผู้วิจัย
                                   จากแผนภาพจะเห็นว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิทั้งหมด 1,086,305 คน ในวันเลือกตั้ง 24 มีนาคม
                             2562 ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงกลุ่มคะแนนที่เลือกพรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคตใหม่ที่เป็น
                             กลุ่มพันธมิตรทางการเมือง คะแนนรวมของทั้ง 2 พรรคการเมืองหากมารวมกันจะมีคะแนนมากกว่า 50%
                             ของจำนวนผู้มาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากระบบการเลือกตั้งที่ใช้บัตรเลือกตั้งใบ
                             เดียวนั้นทำให้การคำนวณคะแนนของเขตเลือกตั้งมีผลกับที่นั่งที่จะได้จากระบบบัญชีรายชื่อ แต่ในอีกด้านก็
                             เป็นการเกลี่ยคะแนนของฐานคะแนนพรรคเพื่อไทยไปสู่พรรคอนาคตใหม่ ซึ่งความน่าสนใจของคะแนนที่

                             ปรากฏให้เห็นนั้นไม่ใช่เงื่อนไขดังเช่นจังหวัดอื่น ๆ ที่เคยมีผู้สมัครจากพรรคไทยรักษาชาติ แต่เมื่อพรรคไทย
                             รักษาชาติโดนยุบ พรรคอนาคตใหม่จึงเป็นพรรคที่ได้เปรียบในการได้รับคะแนนเสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่
                             ต้องการลงคะแนนให้พรรคไทยรักษาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ไม่มีการเปิดตัวผู้สมัครพรรคไทยรักษาชาติ
                             ดังนั้น การทำงานของกลุ่มพรรคการเมืองจึงถือเป็นยุทธศาสตร์ในการเลือกตั้ง เพื่อกันคะแนนไปให้แก่พรรค
                             การเมืองที่เป็นฝ่ายตรงกันข้าม คือ พรรคพลังประชารัฐ ด้วยระบบการเลือกตั้งที่นำมาสู่จำนวนพรรค
                             การเมืองที่มีจำนวนผู้สมัครมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งของจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้คะแนนทุก
                             คะแนนมีค่าและกระจายไปยังพรรคการเมืองต่าง ๆ แม้พรรคพลังประชารัฐในทางพฤตินัยจะเป็นพรรค
                             ฝ่ายรัฐบาลในช่วงเวลาของการจัดการเลือกตั้ง แต่สัดส่วนคะแนนที่ได้ในจังหวัดเชียงใหม่ไม่ได้สูงมากนัก
                             เพราะสัดส่วนคะแนนที่พรรคนี้ได้มีความใกล้เคียงกับคะแนนที่พรรคการเมืองอื่น ๆ รวมกันได้ (ยกเว้น
                             พรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคตใหม่รวมกันได้รับ) โดยเฉพาะหากดูอันดับของคะแนนในแต่ละเขตเลือกตั้ง


                                                           60
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89