Page 88 - kpiebook63011
P. 88

88    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่




                                   “ผมกับนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายก อบจ.เชียงใหม่เป็นเพื่อนกันและนายกฯ
                            บุญเลิศเป็นอาของ น.ส.ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ อดีตส.ส.เชียงใหม่พรรคเพื่อไทย แต่ผมกับนายกฯ

                            บุญเลิศได้คุยกันแล้ว เขาก็ยินดีที่ผมขันอาสาลงสมัครรับเลือกตั้ง และบอกว่าไม่สนับสนุนใคร

                            และจะวางตัวเป็นกลางและจะให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเลือกส.ส.เอง” (เชียงใหม่นิวส์, 2562)


                      ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2557 นักการเมืองและตระกูลการเมืองไม่ได้มีบทบาทหรือแสดง

             กิจกรรมทางการเมืองมากนัก มีผลทำาให้ค่านิยมหรือความคิดเรื่องตระกูลการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ลดน้อยลงไป
             การเข้ามามีบทบาททางการเมืองของกลุ่มคนที่หลากหลายมากขึ้น มีผลต่อความสนใจในตัวบุคคลที่ไม่ได้พิจารณา

             แค่เพียงนามสกุลหรือตระกูลการเมืองเท่านั้น การเมืองไทยที่ทุลักทุเลระหว่างการสลับสับเปลี่ยนกันของการเลือกตั้ง
             กับการรัฐประหารในรอบกว่า 30 ปีที่ผ่านมา อันเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก่อนปี พ.ศ. 2540

             ต่อเนื่องมาจนหลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 เมื่อเกิดการถดถอยของตระกูลการเมืองในอดีตก็มักจะเห็น
             การงอกเงยของตระกูลการเมืองใหม่ ๆ ที่มีลักษณะโดดเด่นของกลุ่มตระกูลที่มีฐานทางธุรกิจการค้ามากยิ่งขึ้น

             การเติบโตของตระกูลการเมืองมองได้เป็นทั้งข้อได้เปรียบและเป็นจุดอ่อนในการแข่งขันทางการเมือง โดยเฉพาะ
             ในยุคของการเมืองที่มีการรัฐประหารหรือมีตระกูลการเมืองใหม่ที่เติบโตมาจากภาคธุรกิจ


                      บทบาทของตระกูลการเมืองที่มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่ เช่น ตระกูลชินวัตร และ

             ตระกูลบูรณุปกรณ์ สำาหรับตระกูลชินวัตรกล่าวได้ว่ามีบุคคลในตระกูลดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 3 คน

                                                                              13
             ได้แก่ นายทักษิณ ชินวัตร, นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  (โพสต์ทูเดย์ออนไลน์, 2556)
             ในขณะที่ตระกูลบูรณุปกรณ์เริ่มต้นจากสนามการเมืองท้องถิ่นและก้าวมาสู่การเมืองระดับชาติ คือ นายปกรณ์
             บูรณุปกรณ์, นางสาวทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ และมีฐานอำานาจในระดับท้องถิ่นคือ นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์และ

             นายทัศนัย บูรณุปกรณ์ จึงกล่าวได้ว่าความเชื่อมโยงของกลุ่มการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่เป็นเครือข่ายความสัมพันธ์

             ในลักษณะของการเกื้อกูล สนับสนุนกันเป็นรากฐานเดิมจากการก่อร่างสร้างเมืองเชียงใหม่ด้วยการโยงใยทางธุรกิจ
             และการดำาเนินกิจการการค้า ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความรู้จักกันเป็นรุ่นสู่รุ่นไม่ใช่เพียงแค่ตระกูลเหล่านี้เท่านั้น


                      อย่างไรก็ตามปัจจัยสำาคัญที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางการเมืองของตระกูลการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่

             ในช่วงที่ผ่านมาคือ บริบททางการเมืองที่เกิดสุญญากาศทางการเมืองนับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2557
             เมื่อทหารมีบทบาทอย่างมากในการควบคุมกิจกรรมทางการเมือง การกำากับดูแลบทบาทของนักการเมืองและ

             การเคลื่อนไหวทางการเมืองในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะกลุ่มตระกูลการเมืองของพรรคเพื่อไทยและเครือข่าย
             อุปถัมภ์ในพื้นที่ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยแวดล้อมทางสังคม คือ การเคลื่อนตัวย้ายถิ่นฐานของประชากรในเชียงใหม่

             มีสูงขึ้นทำาให้ความผูกพันต่อชุมชนลดน้อยลง ประวัติศาสตร์ของตระกูลการเมืองในพื้นที่เจือจางลงไป อีกทั้งระบบ
             เลือกตั้งที่เปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งนอกเขตทำาให้การรับรู้การเคลื่อนไหวทางการเมืองในพื้นที่น้อยลง ข้อมูล

             จากการสัมภาษณ์สมาชิกตระกูลการเมืองหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ที่เคยมีประสบการณ์ในการลงสมัครแข่งขัน
             การเลือกตั้ง ส.ส. พบว่า แต่เดิมความคิดความเชื่อของคนส่วนใหญ่คือ ความเชี่ยวชาญและความสามารถทาง

             การเมืองสามารถส่งผ่านกันจากกระบวนการกล่อมเกลาของครอบครัว การมีทายาททางการเมืองซึ่งอาจเป็น


             13   สมาชิกอื่นในตระกูลที่ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. มีมาตั้งแต่อดีต นายเลิศ ชินวัตร, สุรพันธ์ ชินวัตร, นางเยาวภา
             วงศ์สวัสดิ์, นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์, นายพายัพ ชินวัตร และนางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93