Page 83 - kpiebook63011
P. 83
83
ความลักลั่นของระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม คือ ระบบนี้เป็นระบบที่ยึดหลักเสียง
ข้างมากที่แท้จริงหรือไม่ แม้คะแนนเสียงทุกเสียงจะถูกนับเป็นคะแนน แต่ในขณะเดียวกันการคิดคะแนนแบบ
สัดส่วนอาจทำาให้พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงในเขตมากที่สุด แต่ในการคำานวณคะแนนบัญชีรายชื่ออาจทำาให้
พรรคไม่มี ส.ส.จากระบบบัญชีรายชื่อเลย ดังเช่นผลการเลือกตั้งที่ส่งผลให้พรรคเพื่อไทยที่ไม่มี ส.ส.ในระบบบัญชี
รายชื่อ ในขณะที่พรรคการเมืองขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีจำานวนเพิ่มมากขึ้นในระบบการเลือกตั้งนี้ เกิดขึ้นมา
เพื่อใช้ยุทธศาสตร์คะแนนเสียง เนื่องจากไม่ได้คาดหวังชัยชนะในเขต แต่คะแนนทุกคะแนนไม่ว่าจะได้ลำาดับ
ที่เท่าไหร่ก็จะถูกนำามาใช้คำานวณ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ที่ทำาให้พรรคการเมืองขนาดเล็กและขนาดกลาง
เห็นโอกาสของการได้ที่นั่งในสภา ประจักษ์ ก้องกีรติ วิพากษ์ระบบการเลือกตั้งนี้ว่าทำาให้ประชาชนเกิด
ความสับสน โดยเฉพาะการไม่ให้ข้อมูลแก่ประชาชนมากเพียงพอที่จะให้ทำาความเข้าใจวิธีการและความสำาคัญ
ของการลงคะแนนภายใต้ระบบจัดสรรปันส่วนผสมที่ถูกออกแบบมาที่จะส่งผลกระทบระดับโครงสร้างของ
พรรคการเมืองและรัฐสภา “….คะแนนไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน เพราะบัตรใบเดียวแต่คะแนน
กลับถูกนับสองครั้งทั้งในระบบเขตและระบบปาร์ตี้ลิสต์ และสร้างระบบที่ไม่ยุติธรรมคือยิ่งพรรคได้ที่นั่งใน
ระบบเขตมากขึ้นเท่าใดกลับยิ่งได้ผู้แทนในระบบปาร์ตี้ลิสต์น้อยลงตามนั้น นอกจากนี้ ยังไม่สามารถแยกแยะ
และสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนได้ว่าต้องการเลือกพรรคหรือเลือกตัวบุคคล เพราะปิดกั้นโอกาสใน
การใช้สิทธิอย่างเสรี บีบให้เลือกได้แค่คะแนนเดียว...” (ประชาไท, 2559) ความรู้ความเข้าใจของประชาชน
เกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมนี้ จึงกลายเป็นประเด็นสำาคัญของข้อโต้แย้งในการเลือกตั้ง
ครั้งนี้ จากการสำารวจความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เกี่ยวกับการเลือกตั้งศึกษาโดย สมชาย
ปรีชาศิลปะกุล พบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร้อยละ 64 ไม่เข้าใจและไม่ทราบถึงระบบการเลือกตั้งใหม่
และร้อยละ 83 ไม่เข้าใจและไม่ทราบถึงจำานวน ส.ส. แต่ในขณะที่บัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียวที่ทำาให้ผู้ลงคะแนน
เสียงเลือกตั้งต้องตัดสินใจลงคะแนนจากตัวแปร 3 ประการคือ ส.ส. ในเขตพื้นที่, พรรคการเมือง และบุคคล
ผู้ที่พรรคเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ผลการสำารวจความคิดเห็นของสมชายพบว่า นักศึกษาจำานวนถึง
ร้อยละ 88 ตัดสินใจลงคะแนนจากนโยบายและผลงานของพรรคที่สังกัด ในขณะที่ เพียงร้อยละ 7 ตัดสินใจ
ลงคะแนนจากชื่อเสียงของบุคคล และตัดสินใจลงคะแนนด้วยปัจจัยอื่น เพียงร้อยละ 5 (ประชาไทออนไลน์, 2561)
ด้วยเหตุที่การเลือกตั้งครั้งนี้มีความสำาคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนับตั้งแต่การรัฐประหาร
ตั้งแต่ปี 2557 ทำาให้เกิดกระแสของการสร้างความมั่นคงของพรรคการเมืองปะทุขึ้นมา ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
มีปรากฏการณ์การแสดงออกในการเป็นผู้สนับสนุนพรรคของนักศึกษาและชนชั้นกลางในจังหวัดเชียงใหม่
อย่างชัดเจน การเคลื่อนไหวทางการเมืองในการเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง และการจัดเวทีของพรรคการเมือง
ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเกิดขึ้นหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผย
กรณีการไม่เปิดเผยคือ การมีแกนนำาพรรคการเมืองจัดระดมความคิดเห็นกับประชาชนจากเครือข่ายหรือ
กลุ่มการเมืองท้องถิ่น เพื่อกำาหนดยุทธศาสตร์หาเสียงและวางเครือข่ายผู้สนับสนุนพรรคการเมือง นักศึกษา
คนรุ่นใหม่เป็นกลุ่มหนึ่งที่มักถูกเชิญไปเข้าร่วมการระดมความคิดเห็นในแบบไม่เปิดเผยนี้