Page 80 - kpiebook63011
P. 80

80    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่







             4.6 ผลกระทบของระบบกำรเลือกตั้งแบบจัดสรร


             ปันส่วนผสมในกำรเลือกตั้ง 24 มีนำคม 2562



                      การเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งจากระบบผสมแบบสัดส่วน (Mixed Member Proportional
             System- MMP) สู่ระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม (Mixed Member Apportionment System:

             MMA) ข้อวิพากษ์สำาคัญจากการเก็บข้อมูลเอกสารและข้อมูลพื้นที่ในช่วงเวลาของการเลือกตั้ง ได้ข้อมูลจาก

             ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง คือ ระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม (Mixed Member
             Apportionment System: MMA) ที่ทำาให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้บัตรลงคะแนนใบเดียว คือ
             การลงให้ ส.ส.เขต แต่เอาคะแนนมาคำานวณจำานวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ จากเดิมที่ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

             เคยได้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือใบหนึ่งเลือกพรรคการเมืองและอีกใบหนึ่งคือการเลือกตั้ง ส.ส.เขต ที่สะท้อน

             เจตนารมณ์ของการสร้างพรรคการเมืองเข้มแข็ง และส.ส.ที่ใกล้ชิดและเป็นตัวแทนของประชาชนในเขตเลือกตั้ง
             ระบบการเลือกตั้งจัดสรรปันส่วนผสมได้รับข้อวิพากษ์ถึงปัญหาที่ตามมา ดังเช่น ประจักษ์ ก้องกีรติ มองว่า
             “ระบบการเลือกตั้งนี้ท�าให้เกิดการต่อสู้แข่งขันกันอย่างดุเดือด เอาเป็นเอาตายมากขึ้น เพราะเดิมพันใน

             การแข่งขันแต่ละเขตเลือกตั้งจะสูงมากขึ้นเนื่องจากคะแนนเลือกตั้งของเขตก�าหนดทุกอย่าง...ที่ท�าให้การหาเสียง

             เชิงนโยบายจะลดลง การใช้อิทธิพลและเงินจะมากขึ้น...” (ประชาไท, 2559) เมื่อทุกคะแนนมีความหมาย
             การเลือกตั้งครั้งนี้จึงปรากฏการซื้อเสียงเป็นกลุ่มเป็นล็อต หรือซื้อเสียงจากจำานวนที่พรรคการเมืองได้คำานวณ
             มาแล้ว ต้นทุนในการสร้างพรรคการเมือง 1 พรรคภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เพื่อมาเก็บคะแนนเพียง 80,000

             คะแนน ทำาให้เกิดการซื้อเสียงที่ไม่ต้องเป็นที่ 1 ของเขต แต่มีคะแนนกระจายไปตามเขตเลือกตั้งต่าง ๆ ได้


                      นอกจากนี้ ข้อมูลในพื้นที่จากการสัมภาษณ์ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ ยังพบว่าปัญหาสำาคัญของ
             การเลือกตั้งครั้งนี้คือ ประชาชนไม่เข้าใจเงื่อนไขรายละเอียดของระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม

             ไม่เข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงบัตรเลือกตั้งที่มีบัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียว การแบ่งเขตเลือกตั้งที่หมายเลขผู้สมัคร
             จากพรรคเดียวกันแต่อาจจะเป็นคนละหมายเลขในแต่ละเขตเลือกตั้ง ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการทุจริตการเลือกตั้ง

             การช่วยผู้สมัครหาเสียงเลือกตั้ง จะเห็นว่าการเลือกตั้งเป็นกระบวนการของการตั้งมั่นของประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้
             หากประชาชนเห็นความสำาคัญของการเลือกตั้งที่ไม่ใช่แค่การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แต่ยังรวมถึงการเข้าใจ

             กติกา บทบาทหน้าที่ของตนเอง การทำาหน้าที่พลเมืองในการเฝ้าติดตาม ตรวจสอบสถาบันทางการเมืองให้ทำา
             หน้าที่ของตนเอง ดังที่ สุจิต บุญบงการเสนอว่าขั้นตอนหนึ่งของการทำาให้ประชาธิปไตยมั่นคง คือ การที่ชนชั้นนำา

             และประชาชนต้องมีความเชื่อมั่นศรัทธาในประชาธิปไตย และการสร้างประชาชนให้มีความเป็นพลเมืองจะช่วย
             ส่งเสริมประชาธิปไตยให้มั่นคงได้ (สุจิต บุญบงการ, 2558)


                      ในขณะที่ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงจำานวนมากยังมีความเข้าใจว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะได้บัตรเลือกตั้ง

             2 ใบ และสับสนกับจำานวนพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้ง เพราะมีจำานวนมาก หลากหลายอย่างเห็นได้ชัด
             การที่คะแนนเสียงทุกเสียงถูกเอามานับเป็นคะแนน และจะถูกเอาไปคำานวณหาสัดส่วน ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ

             ยังเป็นสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจในรายละเอียด โดยเฉพาะเมื่อทราบว่าการได้บัตรเลือกตั้งใบเดียว
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85