Page 77 - kpiebook63011
P. 77
77
บทเรียนสำาคัญของการจัดการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 ทำาให้การจัดการเลือกตั้งใหม่
การอำานวยความสะดวกไปจนถึงการนับผลคะแนนเลือกตั้งทำาได้อย่างรวดเร็วและเรียบร้อย ที่สำาคัญคือมี
การระดมเจ้าหน้าที่ กกต. จากจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมปฏิบัติหน้าที่ในการเลือกตั้งใหม่ด้วย จะมีประเด็นที่ส่งผล
ต่อการใช้ความรุนแรงเพียงเรื่องเดียวคือ บริบททางการเมืองในช่วงหลังเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562
มีสภาวะของการแบ่งขั้วการเมืองอย่างชัดเจน และมีความขัดแย้งของการรวบรวมผู้สนับสนุน คัดค้านผล
การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และเมื่อมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ในเขต 8 จึงกลายเป็นสัญญะของการต่อสู้ทางการเมือง
ที่ไม่ใช่แค่ระดับพื้นที่ แต่สะท้อนการต่อสู้ระดับชาติด้วย อารมณ์และบรรยากาศของการเลือกตั้งใหม่ซึ่งถูกกระตุ้น
โดยสื่อ กระแสทางการเมืองจึงมีผลต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนในเขต 8 ด้วย จนกกต.กลาง
ต้องลงมาช่วยกำากับดูแลการทำางานในจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงการเลือกตั้งใหม่ เขต 8 จังหวัดเชียงใหม่
การเลือกตั้งล่วงหน้าของจังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่มีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง 1,407 คน นอกเขตเลือกตั้ง
85,701 คน โดยเขตเลือกตั้งที่ 1 มีผู้มาขอใช้สิทธิลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้ามากที่สุด
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งในเขต 1,358 คิดเป็นร้อยละ 96.52 และนอกเขต 42,348 คน คิดเป็นร้อยละ 90.49
ตาราง 4.3 แสดงจำานวนผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนก่อนวันเลือกตั้ง (ล่วงหน้า) ณ ที่เลือกตั้งกลาง
นอกเขตเลือกตั้ง วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2562 รวมทั้ง 9 เขต
เขตเลือกตั้ง อ�าเภอ ผู้ลงทะเบียน (คน) ผู้มาใช้สิทธิ (คน)
1 เมือง 47,162 42,348
2 หางดง 7,609 6,892
3 สันกำาแพง 7,480 6,754
4 สันทราย 12,250 11,313
5 แม่ริม 5,119 4,627
6 เชียงดาว 1,412 1,302
7 ฝาง 2,024 1,922
8 สันป่าตอง 1,672 1,515
9 ฮอด 932 874
รวม 9 เขต จ�านวน (คน) 85,701 77,547
ที่มา ข้อมูลปรับปรุงจาก สำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดเชียงใหม่ (2562)