Page 82 - kpiebook63011
P. 82
82 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่
และตัวของหัวหน้าพรรค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะคนเชียงใหม่ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียง
เลือกตั้งของประชาชนจังหวัดเชียงใหม่มาก ความนิยมที่มีต่อพรรคไทยรักไทยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแม้จะเปลี่ยน
กติกาการเลือกตั้งในรัฐธรรมนูญ 2550 แต่พรรคพลังประชาชนที่ถูกจัดตั้งมาภายหลังการยุบพรรคไทยรักไทย
ก็ยังคงได้รับการเลือกตั้งจนเป็นแกนนำาจัดตั้งรัฐบาล ในจังหวัดเชียงใหม่การเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550
พรรคพลังประชาชนจะแพ้ไป 2 เขต เพราะความโดดเด่นของผู้สมัครและการยึดโยงตัวบุคคลของประชาชน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากกว่านโยบายพรรค และในการเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พรรคเพื่อไทยซึ่งถูกจัดตั้ง
ขึ้นมาภายหลังการที่พรรคพลังประชาชนถูกยุบก็สามารถชนะการเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่ได้ทั้งหมด 10 เขต
เลือกตั้ง (เวียงรัฐ เนติโพธิ์, 2558, น.40-42)
พรรคเพื่อไทยมีรากเหง้าของฐานคะแนนเสียงพรรคมานับสิบปี ความนิยมและความภักดีต่อพรรค
เกิดขึ้นอย่างเข้มแข็ง แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งก็ตาม ความเชื่อเรื่องพรรคเข้มแข็งในยุค
พรรคไทยรักไทยที่สืบทอดต่อเนื่องมาจนถึงพรรคเพื่อไทยจึงมีผลถึงการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562
ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ตัดสินใจลงคะแนนเสียงให้พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่
ตนเองรู้จักและมีความผูกพันมาอย่างยาวนาน หากวิเคราะห์จากระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ กรณีของเขตเลือกตั้ง
จะเห็นว่าการเลือกตั้งที่มีบัตรใบเดียวไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความนิยมของพรรคเท่าใด เนื่องจากพรรค
มีฐานสนับสนุนจากผู้นำาท้องถิ่นและกลุ่มการเมืองในพื้นที่ค่อนข้างเข้มแข็งมาต่อเนื่องยาวนาน การมีบัตรใบเดียว
กลับเป็นข้อได้เปรียบเพราะเชื่อมั่นว่าประชาชนจะไม่ลังเลที่จะใช้ปัจจัยเรื่องพรรคการเมืองและนโยบายพรรค
ในการเลือก เมื่อเทียบกับการเลือกตั้งในอดีตแล้วการแยกเลือกระหว่างบัตร 2 ใบ กลับเกิดการแบ่งคะแนน
ส.ส. บัญชีรายชื่อกับ ส.ส.เขต และในการหาเสียงก็ยากที่จะบอกประชาชนในเขตเมืองว่าให้กาทั้งสองใบ
เบอร์เดียวกัน ดังที่แกนนำาพรรคเพื่อไทยผู้วางยุทธศาสตร์การเลือกตั้งระดับภูมิภาค เชื่อว่าการดูแลเครือข่าย
ผู้นำาท้องถิ่นเป็นวิธีการสำาคัญในการรักษาฐานเสียง “ฐานการเมืองท้องถิ่นของพรรคเข้มแข็ง แม้ไม่มีการเลือกตั้ง
มานาน แต่ในระดับท้องถิ่นผู้น�าการเมืองในพื้นที่ยังคงท�างานการเมืองให้พรรคการเมืองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้เปรียบ
มากกว่าพรรคการเมืองใหม่ ๆ” (สัมภาษณ์แกนนำาพรรคการเมือง 15 ธันวาคม 2561)
ในการศึกษาวิจัยของ สุรชัย ตั้งมกรา (2556, น.102) ก็พบปรากฏการณ์เฉกเช่นเดียวกันที่การตัดสินใจ
ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหากต้องตัดสินใจในกรณี 2 พรรคและต้องเลือกพรรคใดพรรคหนึ่ง ผู้ลงคะแนนเสียง
เลือกตั้งจะลงคะแนนให้กับพรรคที่มีผลงานในอดีตและดูว่าพรรคไหนน่าจะได้เป็นรัฐบาลเพราะนโยบายจะได้รับ
การนำาไปปฏิบัติ ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งย่อมต้องคาดหวังการได้รับผลประโยชน์อันเกิดจากการลงคะแนนเสียง
เลือกตั้งของตน
“ระบบการเลือกตั้งแบบบัตรเดียวท�าให้พรรคต้องหาเสียงที่เน้นพรรคกับหัวหน้าพรรค เพราะเรา
เสนอชื่อหัวหน้าเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งพรรคเชื่อว่าผู้น�าจากการเลือกตั้งน่าจะเป็นสิ่งที่สังคมไทยต้องการ
ในปัจจุบัน คนอาจต้องการการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการหาเสียงของพรรคไม่ได้คาดหวัง ส.ส.เขตมากนัก
แต่ต้องหาเสียงให้พรรคเป็นหลัก” (สัมภาษณ์ตัวแทนสาขาพรรคการเมือง 17 มกราคม 2562)