Page 75 - kpiebook63011
P. 75

75








                          ผู้อำานวยการเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่ยังชี้ประเด็นปัญหาสำาคัญในวันเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562

                  ที่แตกต่างออกไปจากการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้า คือ หน่วยเลือกตั้งในหมู่บ้านไม่ได้มีปัญหาในเรื่องความแออัด
                  แต่หน่วยการเลือกตั้งในหมู่บ้านมีคณะกรรมการประจำาหน่วยเพียง 5 คน ที่จากเดิมเคยมีถึง 7 คน และ

                  ผู้รักษาความปลอดภัยอีก 2 คน รวมหน่วยหนึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ 7 คน โดยเฉพาะการขยายเวลาการลงคะแนน
                  เสียงเลือกตั้งที่ เริ่มตั้งแต่ 8.00 – 17.00 น. ซึ่งกรรมการหน่วยเลือกตั้งเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ 6.00 น. และ

                  เสร็จสิ้นจนกระทั่งนับและตรวจสอบคะแนนเสร็จบางหน่วยคือ 22.00 น. และบางหน่วยยาวนานถึง 24.00 น.
                  นั่นหมายความว่า กรรมการประจำาหน่วยเลือกตั้งทำางานต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 16-18 ชั่วโมง ที่ทำาให้ร่างกาย

                  อ่อนล้าและอาจมีผลต่อการทำาหน้าที่ผิดพลาดได้


                          ในส่วนของความรู้ความเข้าใจของกรรมการประจำาหน่วยเลือกตั้งนั้น ถือเป็นประเด็นที่สำาคัญมาก
                  เพราะความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากความไม่เข้าใจในระบบการเลือกตั้งใหม่อาจนำามาสู่การตัดสินใจ

                  ในหน่วยเลือกตั้งที่ผิดพลาดหรือไม่เหมือนกันในแต่ละหน่วย เช่น การประทับรอยนิ้วมือ ซึ่งบางหน่วยกระทำา
                  แต่ในบางหน่วยไม่ได้ดำาเนินการ ซึ่งกรรมการประจำาหน่วยเลือกตั้งได้ผ่านการอบรมรายละเอียดมาแล้ว

                  แต่ยอมรับว่าการอบรมที่ผ่านมาเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพียงแค่ 1 – 2 วัน การคัดเลือกกรรมการหน่วยเลือกตั้ง
                  ก็เป็นการคัดโดยผู้นำาในพื้นที่ ซึ่งในบางครั้งผู้นำาชุมชนก็เลือกคนใกล้ชิดมาทำาหน้าที่ แต่ในแง่ผลประโยชน์

                  ไม่ได้เอื้อต่อการกระทำาผิดหรือสนับสนุนนักการเมือง

                          ผู้อำานวยการการเลือกตั้ง ได้เสนอว่าการจัดการเลือกตั้งที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย โดยผู้ปฏิบัติ

                  ในพื้นที่ต้องทำาให้ถูกต้อง แต่ในบางครั้งข้อกฎหมายกับความเป็นจริงที่ไม่สอดคล้องกันก็ทำาให้การปฏิบัติหน้าที่

                  ที่สอดคล้องกับสภาพบริบทแวดล้อมกลับกลายเป็นกระทำาผิดไป การสั่งการกระชั้นชิดและการสนับสนุน
                  ในส่วนของเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ โครงสร้างของผู้ปฏิบัติงานที่อาจไม่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาหรือตัดสินใจ
                  เร่งด่วน ตลอดจนงบประมาณในการจ่ายค่าตอบแทนหรือการเตรียมการก่อนการเลือกตั้ง นอกจากนั้นยังเสนอว่า

                  ควรมีการถอดบทเรียนจากการจัดการเลือกตั้งในแต่ละพื้นที่


                          จากการสัมภาษณ์พบประเด็นที่น่าสนใจคือ การประชาสัมพันธ์ของ กกต. โดยการไปจัดทำาการสนทนา

                  กลุ่ม (Focus Group) ในพื้นที่ พบว่า การประชาสัมพันธ์ที่คิดว่าได้ผลมากที่สุด โดยเฉพาะพื้นที่รอบนอกเมืองกับ
                  พื้นที่หมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์ คือ การใช้เสียงตามสาย “เป็นสิ่งที่เรามาเข้าใจตอนนี้คือ ชนเผ่าเขาชอบให้เราใช้เสียง
                  ตามสาย ใช้ภาษาพูดมากกว่าการท�าเป็นเอกสารหรือภาษาเขียน โดยเฉพาะบนดอยเลย เพราะคนส่วนใหญ่ตอนนี้

                  อ่านภาษาตัวหนังสือชนเผ่าไม่ได้เยอะแล้ว” (สัมภาษณ์ผู้อำานวยการเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่ 19 กันยายน 2562)


                          ในขณะที่สื่อออนไลน์หรือ Social Media ที่ กกต.ใช้ประชาสัมพันธ์นั้นทำามาหลายส่วน เช่น การทำา
                  QR Code และ กกต.กลางทำาแอพพลิเคชั่น Smart Vote มีสติ๊กเกอร์ไลน์ และแอนิเมชันที่ดึงดูดความสนใจ

                  และทำาให้เข้าใจกติกาและรายละเอียดการเลือกตั้งอย่างง่าย การที่ กกต. พยายามใช้สื่อโซเชียลมีเดียมา
                  สนับสนุนการทำางานของ กกต. หลัก ๆ คือการเน้นคนรุ่นใหม่และกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก การประชาสัมพันธ์

                  อีกอย่างที่คิดว่าได้ผลและกระจายได้อย่างทั่วถึง ตอบโจทย์ของการมีจำานวน ส.ส.มากและนโยบายหลากหลาย
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80