Page 60 - kpiebook62011
P. 60

56






                     “... ใช้มาตรการเก็บค่าบริการให้คุ้มทุนจากผู้ใช้บริการโดยตรง หรือผู้ได้รับประโยชน์จากการลงทุน

               จัดบริการพื้นฐานของรัฐ ตลอดจนริเริ่มใช้กลไกใหม่ๆ เช่น การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการพัฒนาจากโครงการของ
               ภาคเอกชนที่ทำให้ต้นทุนการจัดบริการพื้นฐานของรัฐสูงขึ้น การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการประเมินพิเศษ

               จากเจ้าของที่ดินซึ่งได้รับประโยชน์จากบริการพื้นฐาน และการใช้แนวคิดการจัดรูปที่ดินเป็นเครื่องมือในการ
               เตรียมที่ดินเพื่อการจัดบริการพื้นฐาน เป็นต้น...”



                     จะเห็นได้ว่าแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ได้เสนอเครื่องมือทางการเงินที่สะท้อนถึงหลักการผู้รับประโยชน์เป็น
               ผู้จ่ายไว้สามประเภทด้วยกัน โดยที่การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการพัฒนาจากโครงการภาคเอกชนเป็นเครื่องมือ

               การเงินที่มักใช้ครอบคลุมพื้นที่เมืองทั้งหมดโดยไม่เจาะจงลงไปในพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใด และจัดเก็บตามระดับของ
               ต้นทุนส่วนเพิ่ม ในกรณีที่ภาครัฐต้องขยายการบริการพื้นฐานให้กับโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของ

               ภาคเอกชนที่เกิดขึ้นใหม่ ในขณะที่เครื่องมือการจัดเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษและการจัดรูปที่ดินเหมาะสำหรับ
               การพัฒนาพื้นที่เป็นการเฉพาะเท่านั้น

                     อย่างไรก็ตาม ในการพัฒนาและฟื้นฟูเมืองในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมา ได้มีการทดลองประยุกต์ใช้เพียง

               เครื่องมือเดียวคือแนวคิดการจัดรูปที่ดิน ซึ่งเหมาะสมสำหรับการจัดเตรียมพื้นที่การขยายเมืองในแนวราบ เช่น
               พื้นที่ชานเมืองที่มีการเติบโตสูงมากกว่าพื้นที่เมืองชั้นในที่เหมาะสำหรับการขยายพื้นที่เมืองในแนวตั้ง ทั้งนี้
               ยังไม่มีการทดลองใช้เครื่องมืออีกสองประเภทที่ได้ระบุไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 แต่อย่างใด



               6.1  การจัดเก็บภาษีประเมินพิเศษในที่ดินของต่างประเทศ


                     ในหลายประเทศส่วนใหญ่ที่นำภาษีประเมินพิเศษมาใช้เนื่องจากขาดแคลนรายได้ในการพัฒนาหรือ
               การสร้างสาธารณูปโภค ทั้งนี้เพราะหน้าที่งานเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นมีมาก

               ขณะที่เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางหรือรายได้ภาษีทรัพย์สินของท้องถิ่นเองมีน้อย ภาษีประเมินพิเศษเป็นอีก
               ทางเลือกหนึ่งที่หลายประเทศนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยใช้เป็น เครื่องมือทางการเงินหรือเป็นแหล่ง
               เงินทุนในการสร้างสาธารณูปโภค ซึ่งก็อาจจะนำมาใช้กับกรณีการเวนคืนที่ดินของภาครัฐเพื่อให้ผลเป็น

               ที่น่าพอใจแก่เจ้าของที่ดินได้ โดยจะศึกษาจากตัวอย่างการใช้ภาษีประเมินพิเศษของต่างประเทศ ได้แก่
               สหรัฐอเมริกา โคลอมเบีย และเม็กซิโก ซึ่งแต่ละประเทศก็นำมาปรับใช่ให้เหมาะสมกับเหตุการณ์เงื่อนไขของ

               ประเทศตน เพื่อให้มีการใช้ภาษีประเมินพิเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                 1. กรณีประเทศสหรัฐอเมริกา

                     ประเทศสหรัฐอเมริกามีการใช้ภาษีประเมินพิเศษ ในลักษณะเป็นเครื่องมือทางการเงิน วิธีหนึ่ง (Tax

               Increment Financing) เพื่อหาเงินทุนในการสร้างสาธารณูปโภคเพื่อพัฒนาชุมชน หรือท้องถิ่นให้มีความเจริญ
               น่าอยู่อาศัย เนื่องจากสหรัฐอเมริกามีการใช้ภาษีประเมินพิเศษในหลายๆ มลรัฐ จึงขอยกตัวอย่างเฉพาะการใช้
               ภาษีประเมินพิเศษในมลรัฐแคลิฟอรัเนีย ซึ่งเป็นมลรัฐแรกที่เริ่มใช้ภาษีประเมินพิเศษในรูปแบบเครื่องมือ










                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65