Page 56 - kpiebook62011
P. 56
52
(3) ในกรณีที่หน่วยงานที่เวนคืนมาไม่สามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ซึ่งอาจจะเกิดจากการไม่มีงบประมาณในการดำเนินโครงการ หรือมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายในการ
ดำเนินโครงการ การที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ผ่านการลงประชามติบัญญัติว่า
หากไม่ได้เข้าใช้ประโยชน์จากที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้จะต้องคืนที่ดินให้แก่เจ้าของเดิม
หรือทายาทนั้น มีปัญหาว่าหน่วยงานของรัฐสามารถตรากฎหมายเพื่อเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการใช้
ประโยชน์ที่ดินได้หรือไม่ อย่างไร
(4) การที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้วางแนวทางเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่ได้จาก
การเวนคืนว่า ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ประโยชน์ที่ดินตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนแล้ว
หน่วยงานของรัฐสามารถนำที่ดินไปใช้ประโยชน์เพื่อการอื่นได้ ในอนาคตอาจมีการเวนคืนที่ดิน
เกินความจำเป็น ในการตรากฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงควรกำหนดให้มีการเสนอแผนงาน
หรือโครงการในการนำที่ดินไปใช้ประโยชน์หลังจากที่มีการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่มีการ
เวนคืนไว้ให้ชัดเจน เพื่อเป็นมาตรการในการป้องกันและกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เวนคืน
ให้เป็นไปตามโครงการที่กำหนดไว้อย่างแท้จริง และ
(5) ปัจจุบันมีคำพิพากษาของศาล วินิจฉัยวางแนวทางไว้ว่า ในการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่
ภายในแนวเขตเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนมิใช่การทำนิติกรรม
สัญญาซื้อขายทั่วไป หรือเป็นการตกลงซื้อขายกันตามาตรา 456 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ ที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันดังกล่าวจึงเป็นการได้มาตามกระบวนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
หน่วยงานของรัฐจะต้องใช้ประโยชน์ในที่ดินตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืน ทำให้หน่วยงานของรัฐ
ที่ซื้อที่ดินมาโดยเจ้าของที่ดินยินยอมทำสัญญาซื้อขาย ไม่สามารถนำที่ดินไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็ม
ประสิทธิภาพ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530