Page 55 - kpiebook62011
P. 55

51






               ของกฎหมาย แม้โจทก์จำเลยจะได้ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนกันแล้วตามมาตรา 10 ก็ตาม

               แต่เมื่อเป็นผลมาจากการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลย
               จ่ายเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียวได้ และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ในกรณี

               เช่นนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง
               ศาลฎีกาก็ชอบที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247
               อย่างไรก็ตามการที่ศาลฎีกาจะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่เพื่อให้คณะกรรมการ

               กำหนดราคาเบื้องต้นฯ ดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ใหม่ตามขั้นตอนของกฎหมาย
               ไม่อยู่ในวิสัยจะดำเนินการได้ เพราะอายุการใช้พระราชกฤษฎีกาได้สิ้นสุดลงแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความ

               ยุติธรรมจึงควรให้ศาลชั้นต้นได้กำหนดให้คู่ความนำสืบพยานหลักฐานเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนของอาคาร
               พิพาทตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย


                    (8) กระบวนการกำหนดเงินค่าทดแทนตามกฎหมายใช้ระยะเวลานาน และการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่
                        ผู้ถูกเวนคืนมีความล่าช้า เนื่องจากสาเหตุปัจจัยต่างๆ ซึ่งแก้ไขยาก ในขณะที่หลักเกณฑ์การกำหนด

                        และจ่ายเงินค่าทดแทนเป็นระบบตรึงราคา จึงทำให้ผู้มีสิทธิรับเงินค่าทดแทนได้รับเงินค่าทดแทน
                        ที่ไม่เป็นธรรม


               5.2 ปัญหาในการนำอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนได้มาใช้ให้เกิด

                      ประโยชน์สูงสุด


                     ตามเอกสารมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง แนวทางการนำที่ดินที่ได้จากการเวนคืนไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

               วันที่ 6 กันยายน 2559 นั้น  สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาสรุปปัญหาของรัฐในการนำอสังหาริมทรัพย์
               ที่เวนคืนได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดไว้ ดังนี้

                    (1) ที่ดินที่ได้จากการเวนคืนและได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์แล้ว ยังไม่มีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์

                        ไว้อย่างชัดเจนว่า ที่ดินมีสถานะเป็นที่ราชพัสดุ หรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และหน่วยงาน
                        ที่เวนคืนมา สามารถนำที่ดินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้หรือไม่


                    (2) ในกรณีที่มีการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ได้จากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไปแล้วและมีที่ดินเหลือ
                        บางส่วน เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เห็นว่า การจะนำที่ดินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์เพื่อ

                        การอื่นจะต้องพิจารณาว่า ที่ดินที่เหลือนั้นเกี่ยวข้องหรือจำเป็นต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ที่เวนคืน
                        มาหรือไม่ หากเกี่ยวข้องกัน รัฐมาสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการอื่นได้ แต่หากไม่เกี่ยวข้องกัน
                        จะต้องคืนที่ดินที่เหลือให้แก่เจ้าของเดิมหรือทายาท การที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                        ฉบับที่ผ่านการลงประชามติบัญญัติว่า หากที่ดินที่เหลือจากการใช้ประโยชน์และเจ้าของเดิมหรือ
                        ทายาทประสงค์จะขอคืน ให้คืนแก่เจ้าของเดิมหรือทายาท จึงอาจมีปัญหาในการพิจารณาว่า

                        จะสามารถนำที่ดินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ อย่างไร








                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60