Page 59 - kpiebook62011
P. 59

55






                     ภาษีประเมินพิเศษนี้ อังกฤษเป็นประเทศแรกที่ได้ดำเนินการจัดเก็บ  กล่าวคือใน ค.ศ. 1427 รัฐสภา
                                                                              8
               อังกฤษได้ออกพระราชบัญญัติการก่อสร้างเขื่อนกั้นนํ้าทะเล ส่งผลให้ราษฎรได้เริ่มมองเห็นประโยชน์ที่ได้รับจาก
               การขุดสร้างคูและทางระบายนํ้า และในเวลาต่อมาก็ได้ตราพระราชบัญญัติสงเคราะห์คนยากจนขึ้นเพื่อให้

               รัฐบาลมีอำนาจเรียกเก็บเงินมาเพื่อใช้จ่ายในกิจการสงเคราะห์ จนกระทั่งในศตวรรษที่ 19 จึงได้มีการตรา
               “พิกัด” (Rate) เกี่ยวกับการจัดเก็บเงินค่าประเมินพิเศษเพื่อนำไปใช้จ่ายในกิจการสาธารณูปโภคเฉพาะอย่าง
               ขึ้นอีกหลายฉบับ อาทิเช่น The Poor Rate, The Highways & Sewer Rate และ The General Rate

               ประเทศต่างๆ ในยุโรปได้เห็นตัวอย่างของประเทศอังกฤษจึงได้นำเอาวิธีการของอังกฤษดังกล่าวไปใช้อย่าง
               แพร่หลาย ฝรั่งเศส เยอรมันนี และ เบลเยี่ยมได้ออกกฎหมายเรียกเก็บเงินค่าประเมินพิเศษเพื่อใช้จ่ายในการจัด

               สร้างถนนหนทาง ขุดคูคลอง สร้างทางระบายนํ้าและทางเท้า สหรัฐอเมริกาได้นำเอาระบบและวิธีการนี้ไปใช้
               เป็นครั้งแรก ใน ค.ศ.1691 โดยในปีนั้นได้มีการออกกฎหมายชื่อว่า “The New York Provincial Act Of
               1691” และนับแต่นั้นเป็นต้นมา วิธีการดังกล่าวนี้ก็ได้เป็นที่นิยมแพร่หลายไปยังมลรัฐต่างๆ  อย่างรวดเร็ว
                                                                                         9

                     ปัจจุบัน ภาษีประเมินพิเศษนั้น มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายๆ ภูมิภาคทั่วโลก ในยุโรปโดยเฉพาะ
               ประเทศอังกฤษ ตัวภาษีประเมินพิเศษ (Betterment Levy) ได้เปลี่ยนรูปแบบจากที่มีกฎหมายเฉพาะไปเป็น

               ส่วนหนึ่งของกฎหมายแผนพัฒนาเมือง (Planning and Compensation) และวิธีการประเมินพิเศษนี้ได้ลด
               ความสำคัญลงจนไม่มีการใช้อย่างเป็นกิจจะลักษณะ แต่ก็มีการเรียกร้องให้นำกลับมาใช้ใหม่ ในอเมริกามีการใช้

               ภาษีประเมินพิเศษกันอย่างแพร่หลาย ทั้งแคนาดา (Land Value Increment Tax) สหรัฐอเมริกา (Tax
               Increment Financing) เม็กซิโก (Contribution for Improvements) โคลอมเบีย (Valorization Charges)
               อาเจนตินา (Cost-Sharing Arrangements) โดยสหรัฐอเมริกาได้ใช้ครอบคลุมและพัฒนาจนมีประสิทธิภาพ

               ในเอเชียก็มีอินเดีย ญี่ปุน เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ รวมทั้งออสเตรเลีย (Land Value Increment Tax)
               เห็นได้ว่าภาษีประเมินพิเศษมีการใช้กันอย่างแพร่หลายและพัฒนาวิธีการให้เหมาะสมกับแต่ละประเทศ

                     ในประเทศไทยเอง ได้มีการระบุถึงแนวความคิดการประเมินพิเศษไว้แล้ว ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ

               สังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535- 2539) ในบทที่ว่าด้วยการพัฒนาภาคมหานครและเขตเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งได้
               กล่าวถึงมาตรการทางการเงินที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและวิธีการระดมทุนของท้องถิ่นในการจัดบริการพื้นฐาน

               ของเมือง ดังนี้















               
      8   ทิพย์ ถนอมกิจ, การจัดเก็บภาษีอากรของเทศบาลนครกรุงเทพ. (พระนคร: โรงพิมพ์ ประเสริฐศิริ, 2514), น. 80-81.
               
      9   จากการค้นคว้าทางเอกสาร ปรากฏว่าในปี ค.ศ. 2002 มีการใช้ภาษีประเมินพิเศษในมลรัฐต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา จำนวน
               47 มลรัฐ โดยมีเพียง 3 มลรัฐ คือ Arizona, Delaware และ North Carolina ที่ไม่มีการใช้ภาษีประเมินพิเศษ









                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64