Page 359 - kpiebook62009
P. 359

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562



               ดำเนินการเองได้ แต่ต้องอาศัย อบต.เป็นหน่วยงานสนับสนุนการทำงาน ซึ่งบ่งบอกว่า กลุ่มองค์กรในพื้นที่มี

               ความเข้มแข็งและสามารถจัดการตนเองได้ในระดับหนึ่ง
                            5) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะเขือ: ความโดดเด่นในด้านการส่งเสริมการมี

               ส่วนร่วมของประชาชน พบว่า เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบคณะกรรมการ

               ดำเนินงานตั้งแต่การวางแผนงาน การดำเนินงาน การติดตามและประเมินผล  จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
               ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะเขือ จัดให้มีช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร รายรับ

               รายจ่ายของ อบต. ข้อมูลการจัดเก็บภาษี การตรวจสอบภายใน การร้องทุกข์ ได้แก่

                               - เว็ปไซต์ อบต.หนองมะเขือ www.nongmakua.go.th
                               - มี Line กลุ่ม สำหรับสื่อสารระหว่าง อบต.กับผู้นำหมู่บ้านและประชาชน ชื่อกลุ่ม

               “VIPหนองมะเขือ” กลุ่มโรงเรียนผู้สูงอายุ กลุ่มคนรักษ์ป่าหนองมะเขือ

                               - มี FACEBOOK เปิดเป็นสาธารณะชื่อ อบต.หนองมะเขือ อ.พล จ.ขอนแก่น
                               - ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร รับเรื่องราวร้องทุกข์ โครงการประชุม อบต.สัญจร

                               - โครงการประชาคมท้องถิ่นเพื่อรับฟังปัญหาความต้องการของประชาชน

                               - จัดทำป้ายสัญลักษณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้เข้าใจ
               ได้ง่าย

                            นอกจากนี้ ประชาชนบริจาคที่ดินเพื่อเป็นทางขึ้นไปดับไฟป่า เพื่อทำถนนหน้ากว้าง 8

               เมตร รวม 8 ไร่ และสามารถทวงคืนผืนป่าจากการบุกรุกได้ 400 ไร่ โดยปราศจากความรุนแรง ได้รับ
               รางวัลลูกโลกสีเขียวระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากสมาคมสันนิบาตเทศบาล

               แห่งประเทศไทย ปี 2562

                         2. ประเภทรางวัลความเป็นเลิศด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์
                            ระดับเทศบาล มีจำนวน 3 แห่ง ได้แก่

                            1) เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ (ต.กาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์): ความโดดเด่นในด้าน
               การเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ พบว่า โครงการจุติสุขาวดี ฯ ขับเคลื่อนจากการจัดทำเวที

               สะท้อนความคิดเห็น ปัญหาที่เกิดขึ้นและการระดมแนวทางการทำงาน โดยมุ่งให้เกิดชุมชนเอื้ออาทรมี

               การส่งต่อข้อมูลจากโรงพยาบาลสำหรับเคส palliative care และชุมชนแจ้งเองก่อนให้ความช่วยเหลือมี
               การประชุมก่อนทุกเคส หลังดำเนินการมีการถอดบทเรียน การขับเคลื่อนใช้เงินบริจาคทั้งหมด อันเป็นสิ่งที่

               สะท้อนถึงการเป็นสังคมสันติสุขเอื้ออาทรต่อกัน บทบาทของเทศบาล จัดหาวิทยากรให้ความรู้เรื่อง

               การดูแล อำนวยความสะดวกรถรับส่งจากโรงพยาบาลมาที่บ้าน ผู้บริหารเทศบาลจะลงเยี่ยมทุกเคส อีกทั้ง
               อำนวยความสะดวกโดยให้พื้นที่จิตสาอาได้ทำงานเต็มที่ ช่วยเหลือรถรับส่ง รถแห่ศพ เครื่องมือการทำงาน

               สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเทศบาลกับเคสคือ “สมุดเบาใจ” สำหรับ โครงการคนกาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใครไว้ข้าง

               หลัง ใช้กลไกการขับเคลื่อนโดยจับคู่อุปถัมภ์ระหว่างบุคลากรของเทศบาลกับครอบครัวของสมาชิกในชุมชน





                                                         318
   354   355   356   357   358   359   360   361   362   363   364