Page 354 - kpiebook62009
P. 354

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562



                  คำนึงถึงความสมดุลของสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์และความมั่นคงของชาติควบคู่กันไม่ใช้ปัญหาและ

                  ข้อจำกัดในอดีตมาเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาคนไร้สัญชาติไร้สถานะทางทะเบียน อีกทั้งการก่อสร้าง
                  และบริหารจัดการระบบกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนขนาดไม่น้อยกว่า 300 ตันต่อวัน เป็นโครงการที่

                  ภาคประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนการร่วมคิด จากการตระหนักถึงปัญหาขยะล้นเมือง ผ่านการรับฟัง

                  ความคิดเห็นจากประชาคม และการประชุมสภา โดนทางเทศบาลได้เห็นความสำคัญจึงนำมาบรรจุใน
                  แผนพัฒนาฯของเทศบาลนครอุดรธานี จนกลายเป็น “แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยอุดรธานี” โดยได้

                  “จัดตั้งคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลมูลฝอย” โดยมีตัวแทนจากภาคประชาชน หน่วยงานรัฐ และ

                  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานีเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ นอกจากนี้ เทศบาลนครอุดรธานี
                  ได้เปิดช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และข้อร้องเรียนต่างๆในหลายช่อทาง เช่น ผ่านตัวแทนประธาน

                  ชุมชนทั้ง 104 ชุมชน, สายด่วนนครอุดรธานี, เว็บไซต์, ช่องทาง Social network ต่างๆ และมีการจัดตั้ง

                  คณะกรรมการที่มากจากลายภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน ให้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ
                  การดำเนินงานระหว่างกับคณะกรรมการบริหารเทศบาล โดยการแต่งตั้งในรูปแบบของคำสั่งที่มี

                  ความชัดเจน

                               3) เทศบาลเมืองลำพูน (ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน): ความโดดเด่นในด้านการส่งเสริม
                  การมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ในการดำเนินกิจกรรมโครงการต่างๆ ทุกโครงการ จะมีการสำรวจ

                  ความต้องการโดยการเปิดเวทีประชุมพูดคุยกับทุกภาคส่วน วิเคราะห์เชิงลึก และหาแนวทางใน

                  การดำเนินการที่สอดคล้องเหมาะสม ซึ่งลักษณะกิจกรรมที่ทำ จะมุ่งเน้นการพัฒนาวิธีคิด ศักยภาพ ทักษะ
                  ที่จะไปใช้เพื่อการดำเนินการชีวิต พัฒนาศักยภาพมนุษย์ที่จะสามารถนำไปประยุกต์ต่อในการทำงานใน

                  กิจกรรมต่างๆ หรือสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ตนเอง และมีการตรวจสอบเรื่องอาหารกลางวัน หลายชั้น

                  อีกทั้ง ITA ได้รับการประเมิน ในระดับ A โดยมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับ ปปช. ตั้งแต่ปี พ.ศ.
                  2559 ดำเนินการร่วมกันจนถึงปี พ.ศ.2561 นอกจากนี้โครงการแต่ละโครงการ จะมีการประเมินผล

                  อย่างรอบด้าน และตรวจสอบถี่ ตรวจสอบซ้ำๆ เพื่อความเที่ยงตรงของการปฏิบัติงาน เมื่อปี พ.ศ.2561
                  ได้รับรางวัลด้านโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยส่งกิจกรรม “เมืองลำพูนไม่ทนต่อ

                  การทุจริต” มุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการมีส่วนร่วมป้องกันและปราบปรามการทุจริต และ

                  การวางระบบการบริหารจัดการองค์กรที่โปร่งใส การส่งเสริมให้ประชาชนได้รับรู้ ร่วมตรวจสอบ โดยการ
                  เผยแพร่ข้อมูล โดยมีเครื่องมือเป็นคู่มือเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านการเงินการคลัง ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง

                  สำปรับประชาชน และไม่เคยมีปรากฏการร้องเรียนเกี่ยวกับการเงินการคลัง

                               4) เทศบาลนครภูเก็ต (ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต): ความโดดเด่นในด้านการส่งเสริม
                  การมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า มีช่องทางในการได้รับข่าวสาร หลากหลายช่องทาง เช่น ทางเว็บไซด์

                  ทางสื่อรายงานผลการดำเนินงานของเทศบาล กลุ่ม LINE และการติดต่อโดยตรงกับนายกเทศบาลนคร ใน

                  กรณีที่มีปัญหาหรือต้องการเสนอแน่ะ การทำงานของเทศบาล นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติมที่สะท้อนให้
                  เห็นถึงการทำงานของเทศบาลนครภูเก็ต กล่าวคือ โครงการที่ทำเป็นความท้าทายของเทศบาลนครภูเก็ต



                                                            313
   349   350   351   352   353   354   355   356   357   358   359