Page 353 - kpiebook62009
P. 353

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562



                              6. ทม.บ้านบึง (ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี)

                              7. ทต.ป่าแดด (ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่)
                              8. ทต.ชมภู (ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่)

                              9. ทม.กระทู้ (ต.กระทู้ อ.กระทู้ จ.ภูเก็ต)

                              10. ทต.กำแพง (ต.กำแพง อ.ละงู จ.สตูล)
                              11. ทม.บ้านฉาง (ต.บ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง)

                              12. ทต.ท่าสาป (ต.ท่าสาป อ.เมือง จ.ยะลา)

                              13. ทต.ห้วยข้าวก่ำ (ต.ห้วยข้าวก่ำ อ.จุน จ.พะเยา)
                            - ระดับองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีความเป็นเลิศด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน

               และประชาสังคม มีจำนวน 3 แห่ง ได้แก่

                              1. อบต.พลับพลาไชย (ต.พลับพลาไชย อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี)
                              2. อบต.โคกกลอย (ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา)

                              3. อบต.ดงขี้เหล็ก (ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี)

                              องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศในด้านต่างๆ มีความโดดเด่น โดยขอเสนอ
               ตามประเภทรางวัลในแต่ละประเภทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังต่อไปนี้

                         1. ประเภทรางวัล ความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

                            ระดับเทศบาล มีจำนวน 8 แห่ง ได้แก่
                            1) เทศบาลเมืองชัยภูมิ (ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ): ความโดดเด่นในด้านการส่งเสริม

               การมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ทุกโครงการของเทศบาลมีจุดเริ่มมาจากปัญหาของชุมขน มีการ

               ประชุม ประชาคมพิจารณาปัญหาร่วมกัน และร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ทั้ง 25 ชุมชน โดยมี
               ชุมชนที่ให้ความร่วมมือในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาและเข้าร่วมกิจกรรมโครงการของทางเทศบาล 15

               ชุมชน และมีการร่วมมือกับชุมชนนอกเขตเทศบาลและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมแก้ไขปัญหา
               และพัฒนาเทศบาลให้ดียิ่งขึ้นใช้ปัญหาของประชาชนแทนการกำหนดงบประมาณในการเริ่มต้นโครงการ

               โครงการที่โดดเด่นทั้งสามโครงการสะท้อนให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึง

               ปลายน้ำ การสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน การร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะในเทศบาล ปัญหาน้ำท่วม
               ขัง ปัญหาด้านเศรษฐกิจ การจ้างงาน การสร้างรายได้ ให้กับคนในชุมชน โดยใช้โครงการในการแก้ไขปัญหา

               ต่างๆ ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่การประชุม การกำหนดนโยบาย การฝึกอบรมผู้นำชุมชน การถ่ายทอด

               กระบวนการ การคืนข้อมูลสู่ชุมชน การติดตาม และการประเมินผลโครงการ
                            2) เทศบาลนครอุดรธานี (ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี): ความโดดเด่นในด้าน

               การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า การแก้ไขปัญหาคนไร้สัญชาติไร้สถานะทางทะเบียน

               ช่วยเหลือประชาชนผู้ตกหล่นทางทะเบียนที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักให้ได้รับการกำหนด
               สถานะตามกฎหมายและได้รับสิทธิต่างๆ จากทางภาครัฐเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ให้ดีขึ้นโดย



                                                         312
   348   349   350   351   352   353   354   355   356   357   358