Page 355 - kpiebook62009
P. 355

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562



               เนื่องจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นเทศบาลไม่เคยทำมาก่อน ต้องปรับเปลี่ยนตามความต้องการของเทศบาล หรือ

               ผลจากการประชุมวางแผนร่วมกัน ในขณะที่บริบทของโรงเรียนแต่ละโรงเรียนแตกต่างกัน ทำให้สำนัก
               การศึกษาต้องทำงานให้สรุปเป็นรูปแบบหรือแนวทางเดียวกัน การใช้ข้อมูล ที่ใช้ในปัจจุบันยังเป็นข้อมูลเก่า

               และรวมอยู่ในฐานข้อมูลเดียวกัน ดังนั้น การนำข้อมูลออกมาใช้ได้อย่างถูกต้องจำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้

               และความพยายามของท้องถิ่นและโรงเรียนในสังกัดเทศบาล เกิดการต่อต้านจากผู้ปฏิบัติงานบางส่วน
               เนื่องจาก กิจกรรมเป็นงานใหม่ทำให้ขาดความคุ้นชินกับระบบการทำงานแบบเดิมและเป็นการเพิ่มภาระ

               ให้กับการทำงานที่มีมากอยู่แล้ว เกิดการคิดและพัฒนาระบบสารสนเทศ Q-info เนื่องจากการออกแบบ

               โปรแกรมสำเร็จรูปแบบเก่าไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเทศบาลได้ และมีปัญหากับ
               การจัดระบบทางการศึกษา สามารถต่อยอดไปสู่กิจกรรมอื่น เช่น ในด้านสุขภาพของเด็ก ด้านความยากจน

               ของนักเรียนเพื่อช่วยเหลือและได้รับการดูแลเพิ่มมากขึ้น จัดเป็นเด็กกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

               เพื่อการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ
                            5) เทศบาลนครลำปาง (ต.สบตุ๋ย อ.เมือง จ.ลำปาง): ความโดดเด่นในด้านการส่งเสริม

               การมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า การดำเนินโครงการ ของ เทศบาลนครลำปาง ได้เปิดกว้างเพื่อให้ภาค

               ประชาชนมีส่วนร่วมทุกระดับ ตั้งแต่ร่วมประชุมวางแผนดำเนินการ ร่วมกิจกรรมและหลังการดำเนิน
               กิจกรรม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความโปร่งใสที่ไม่ปิดบังประชาชนในทุกโครงการ ภาคประชาชนและ

               ภาคเอกชนมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารและตรวจสอบความโปร่งใสในแต่ละโครงการ ใน

               การดำเนินงานแต่ละโครงการ หรือเรื่องงบประมาณ มีการจัดทำแผนงาน โครงการ การสนับสนุน รวมถึงมี
               การประเมินการทำงานของเทศบาล เพื่ออธิบายชี้แจงรายรับ-รายจ่าย ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง ข้อมูล

               การประชุมสภา และข้อมูลข่าวสารอื่นๆ ให้ประชาชนทราบเพื่อความโปร่งใส

                            6) เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี (ต.ตลาด อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี): ความโดดเด่นในด้าน
               การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า เทศบาลนครสุราษฎร์ธานีเปิดโอกาสให้แต่ละภาคส่วน

               เข้าร่วมติดตามและประเมินผล รวมถึงการตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงาน โดยมีการแต่งตั้งบุคคลจาก
               หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีทั้ง ภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน เช่น ประธาน

               ชุมชน ผู้แทนปราชญ์ชาวบ้าน ผู้แทนองค์กรสตรี ผู้แทนกลุ่มผู้พิการ ผู้แทนสภาเด็กและเยาวชน ผู้แทน

               ชมรมผู้สูงอายุ และผู้แทนผู้ประกอบการค้าในเทศบาล เป็นคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล
               แผนพัฒนาเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี มีหน้าที่ ในการเสนอความเห็นในการติดตามและประเมินผล

               แผนพัฒนาเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการติดตามและ

               ประเมินประเมินผลแผนพัฒนาเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี และงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ มีการ
               ประชาสัมพันธ์ทางสื่อและเว็บไซต์ต่างๆ มีเอกสารสรุปมติการประชุมสภาเทศบาลแจ้งผลทางเว็บไซต์

               ประชาสัมพันธ์ทางบอร์ด และที่ห้องข้อมูลข่าวสารของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี







                                                         314
   350   351   352   353   354   355   356   357   358   359   360