Page 358 - kpiebook62009
P. 358

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562



                  ประชาสัมพันธ์ ฝ่ายซื้อขาย ฝ่ายติดตามสมาชิก ซึ่งมีการประชุมคณะกรรมการฯ เป็นประจำทุกเดือน  โดย

                  ประธานกลุ่มแต่ละหมู่จะเป็นผู้ให้ข้อมูล ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบถึงผลการดำเนินงาน และระดม
                  ความคิดเห็นเพื่อแก้ไขปัญหา อุปสรรค สนับสนุนการดำเนินงานของโครงการฯ  โดยการสนับสนุนสถานที่

                  เป็นที่ตั้งการดำเนินงานของธนาคารขยะฯ ตลอดจนการทำกิจกรรมต่อยอดจากการนำขยะ ที่โรงงาน

                  ไม่รับซื้อ เช่น ถุงผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม โดยกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มสตรี นำมาตัดเย็บกระเป๋า หมวก
                  ผ้ากันเปื้อน จำหน่ายเป็นรายได้เสริม  ซึ่งได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรเย็บผ้าจากธนาคารทหารไทย ให้

                  ภาคประชาชนเป็นกลไกการดำเนินงานหลัก ซึ่งประกอบไปด้วย กลุ่ม อสม. กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่ม อถล. และ

                  แกนนำชุมชน  ในการดำเนินการประชาสัมพันธ์  บริหารจัดการการรับซื้อ-ขายขยะ  การกำหนดกติกา
                  ร่วมกัน  การดูแลสมาชิก (ให้แกนนำ อถล. 1 คน ดูแลสมาชิก 10 คน) รวมทั้งการคิดสร้างสรรค์กิจกรรม

                  ต่อยอดต่างๆ  เพื่อสร้างความยั่งยืนของโครงการ และให้ประชาชนมีอาชีพเสริม มีรายได้เพิ่มขึ้น

                  นอกจากนี้ยังสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนแนวตั้ง (คอนโด, เคหะชุมชน) ในการจัดการปัญหาขยะ
                  ขยายผลการมีส่วนร่วมในระดับโรงเรียน โดยครูสามารถบูรณาการปัญหาขยะในการจัดการเรียน

                  การสอน และสร้างกลุ่มแกนนำนักเรียน ทำกิจกรรมรณรงค์ สร้างความตระหนักรู้ปัญหาขยะ การคัดแยก

                  ขยะ ในโรงเรียน  และให้นักเรียนรู้จักการแยกขยะ และคุณค่าของขยะ เพื่อมาเป็นทุนการศึกษา ผู้นำ
                  (นายกฯ) มีวิสัยทัศน์และประสานให้ธนาคารออมสิน เข้ามาเป็นกลไกสร้างความเชื่อมั่นของธนาคารฯ เพื่อ

                  ดึงการมีส่วนร่วมการจัดการปัญหาขยะของคนในชุมชน  เปลี่ยนทัศนคติของคนในชุมชนให้รู้ถึงคุณค่าของ

                  ขยะ และสร้างความเชื่อมั่นด้านการบริหารจัดการ และความโปร่งใส เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามา
                  สนับสนุนในการพัฒนาด้านการบริหารจัดการ  โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ application ฟรี

                               4) องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน: ความโดดเด่นในด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วม

                  ของประชาชน พบว่า การบริหารงานเพื่อตอบสนองประโยชน์ของท้องถิ่นที่นอกเหนือจากการทำตาม
                  ระเบียบการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ยังมีมิติการทำงานแบบโปร่งใส และประชาชน

                  สามารถตรวจสอบได้ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซด์ และการรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ผ่านช่องทางต่างๆ
                  แล้ว ยังมีคณะกรรมการภาคประชาชนที่เป็นอาสาสมัครในการร่วมกันตรวจสอบในโครงการกิจกรรมต่างๆ

                  เช่นโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีต เน้นอาสาสมัครที่มีความรู้เรื่องการก่อสร้างและความรู้เรื่องช่างเข้าไปมี

                  ส่วนร่วมในการทำ และร่วมตรวจสอบการก่อสร้างทุกขั้นตอน ส่วนทางด้านการประหยัดงบประมาณเช่น
                  ในโครงการวันสารทเดือนสิบฯ อบต. สนับสนุนงบประมาณเพียงแค่ ห้าพันบาทแต่การจัดทำกระจาดต้องใช้

                  งบประมาณถึง สองหมื่นถึงห้าหมื่นบาท ซึ่งภาคประชาชนลงแรงร่วมกันบริจาคเพื่อจัดทำ และอาศัย

                  การมีส่วนร่วมขององค์กรในท้องถิ่น ประกอบด้วย สภาวัฒนธรรมตำบล เป็นองค์กรขับเคลื่อนและ
                  ตรวจสอบการดำเนินงาน ส่วนโครงการตำบลเขาดินไร้ขยะ อาศัยความร่วมมือจากชุมชน โรงเรียนเป็น

                  ผู้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินงานทุกขั้นตอน นอกจากนี้ กระบวนการทำงานขององค์การบริหาร

                  ส่วนตำบลเขาดินที่เน้นการมีส่วนร่วมและความโปร่งใสของประชาชนนั้น ในเวทีสนทนถามว่า ถ้าหากไม่มี
                  อบต.แล้ว กลุ่มประชาชนในพื้นที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตัวเองไหม ซึ่งกลุ่มสนทนาได้ให้คำตอบว่า



                                                            317
   353   354   355   356   357   358   359   360   361   362   363