Page 361 - kpiebook62009
P. 361

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562



                            โครงการประเพณีสุดยอดสงกรานต์อีสานเทศกาลดอกคูณเสียงแคนและถนนข้าวเหนียว

               เป็นสงกรานต์สุขภาพไร้แอลกอฮอล์ โดยมีกลไกที่เกิดจากมีความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการเล่นคลื่น
               มนุษย์โดยไม่พึ่งแอลกอฮอล์ และภาครัฐเอกชน บริษัท ห้างร้าน ชุมชนรวมตัวกันในเชิงสัญลักษณ์ส่งเสริม

               การท่องเที่ยวที่สนุกได้โดยไม่พึ่งแอลกอฮอล์

                            ระดับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีจำนวน 1 แห่ง ได้แก่
                            1) อบต.ห้วยเกตุ (ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี): ความโดดเด่นในด้านการเสริมสร้าง

               สันติสุขและความสมานฉันท์ พบว่า กระบวนการสร้างกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมายในการสร้าง

               ความเป็นหุ้นส่วนระหว่าง ภาครัฐกับชุมชน ในการอำนวยความยุติธรรม  สร้างความเป็นธรรมและ
               ความสงบสุข ในสังคมร่วมกัน  โดยภาครัฐจะส่งเสริมการรวมกันของประชาชนในลักษณะของเครือข่าย

               เพื่อทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับภาครัฐในการดำเนินภารกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชุมชน

               เพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาท  ประนอมข้อพิพาท  เกี่ยวกับความแพ่ง หรือความอาญาที่เป็นความผิดอันยอม
               ความได้ หรือความผิดอื่นตามกำหนด หรือจัดการความขัดแย้งในชุมชนตามหลักความยุติธรรม

               เชิงสมานฉันท์ การเสริมความสมานฉันท์ในชุมชนภายในชุมชนในรูปแบบการบริหารจัดการแบบครัวเรือน

               ในการลดความขัดแย้งในสังคม และร่วมวางแผนกระบวนการพัฒนาคน (การรู้เท่าทันข้อกฎหมาย
               การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา การนำหลักศาสนานำชีวิต) พัฒนากาย (การส่งเสริมทางด้าน

               สุขภาพ และ เศรษฐกิจ) พัฒนาจิต (สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความไม่เข้าใจกันของประชาชนและเจ้าหน้าที่

               ภาครัฐ)
                         3. ประเภทรางวัลความเป็นเลิศด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม

                            ระดับเทศบาล มีจำนวน 13 แห่ง ได้แก่

                            1) เทศบาลเมืองแม่เหี๊ยะ (ต.แม่เหี๊ยะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่): ความโดดเด่นในด้าน
               การเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม พบว่า ขบวนการขับเคลื่อน มีเครือข่ายที่เกิดขึ้น

               โดยธรรมชาติ กล่าวคือ ด้วยกิจกรรม/โครงการมีความต่อเนื่องต่อยอด มีอาสาสมัครชุมชน และมีเครือข่าย
               ที่เป็นมิตรกับชุมชน ตลอดจนมีการขยายงานและอาสาสมัครในทุกพื้นที่ชุมชน ในบริบทชุมชนที่มีความเป็น

               เมือง และมีชุมชนบ้านจัดสรรเกิดขึ้นมาก ทางเทศบาลเมืองแม่เหียะ จะหลักสำคัญ คือ “การต้องเข้าถึง

               ชุมชน” เป็นฐานการพัฒนา ดังนั้น การขยายเครือข่ายในพื้นที่ ที่จะดึงสมาชิกชุมชนบ้านจัดสรรเข้ามามี
               ส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา และเครือข่าย 2 ระบบ ได้แก่ เครือข่ายสนับสนุน และ เครือข่ายปฏิบัติการ

               ชุมชน ซึ่งเครือข่ายที่ให้การสนับสนุนชุมชน เป็นจะเป็นทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ครอบคลุมทุกบริบท

               การพัฒนาชุมชน ในขณะที่ เครือข่ายปฏิบัติการชุมชน ในที่นี้คือ เครือข่ายอาสาสมัครชุมชน เครือข่ายผู้นำ
               ชุมชน เครือข่ายกลุ่มต่างๆ ฯลฯ เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนชุมชน

                            2) เทศบาลตำบลท่าคันโท (ต.นาตาล อ.ท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์): ความโดดเด่นในด้าน

               การเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม พบว่า การขับเคลื่อนเครือข่ายเน้นการใช้กลไกของ
               ทีมด้านสุขภาพและความแม่นยำเรื่องข้อมูลผู้ป่วยมีการประชาสัมพันธ์ให้ครอบครัวผู้เข้าถึง App และ



                                                         320
   356   357   358   359   360   361   362   363   364   365   366