Page 364 - kpiebook62009
P. 364
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
8) เทศบาลตำบลชมภู (ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่): ความโดดเด่นในด้าน
การเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม พบว่า เทศบาลตําบลชมภู ค้นหา พัฒนา และ
สร้างเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม โดยใช้หลักการ “ห่วงโซ่ ส่วนร่วม บูรณาการ อย่างยั่งยืน”
ร่วมกับการทํางานของภาคีเครือข่ายใน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การจัดการความรู้ (Knowledge
Management) ระหว่างภาคีเครือข่าย มีการแบ่งปันและ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ส่งผลให้เกิดชุดความรู้
และระบบการจัดการความรู้ร่วมกัน 2) การวางแผนกําลัง (Man) ส่งเสริมให้สมาชิกเครือข่ายมีจิตสาธารณะ
และทํางานเพื่อส่วนรวม และมี การวางระบบการทํางานเป็นทีมระหว่างเครือข่าย 3) การวางแผน
งบประมาณ (Budget) ยึดหลักธรรมาภิบาลในการทํางานร่วมกันระหว่างภาคี เครือข่ายเพื่อแสดงถึงความ
โปร่งใส ซึ่งนํามาสู่ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน 4) แผนกลยุทธ์ (Strategy) ภารกิจ (Mission) และเป้าหมาย
(Goal) กําหนดเป้าหมายร่วม สร้างกล ยุทธ์ในการทํางานเพื่อกําหนดทิศทางในการทํางานร่วมกัน ตลอดจน
กําหนดภารกิจร่วมกันระหว่าง ภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการทํางาน จากการใช้หลักการ
“ห่วงโซ่ ส่วนร่วม บูรณาการ อย่างยั่งยืน” ช่วยให้เทศบาลตําบลชมภูสามารถพัฒนา และสร้างเครือข่ายใน
การทํางานได้มากถึง 50 เครือข่าย และเครือข่ายร่วมกันทํางานอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เครือข่ายสําคัญของ
เทศบาลตําบลชมภู ได้แก่ เครือข่ายภาคท้องถิ่น เครือข่ายภาคท้องที่ และเครือข่ายภาคประชาชน
ซึ่งเปรียบเสมือนสามเสาหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่น เครือข่ายภาคท้องถิ่น ทําหน้าที่จัดให้มี
การบริการสาธารณะที่ตอบสนองต่อปัญหาหรือความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เครือข่ายภาคท้องที่
ทําหน้าที่พัฒนาพื้นที่แบบคู่ขนานไปพร้อมกับเครือข่ายภาคท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่คํานึงถึง
ความ อยู่ดีมีสุขของประชาชนร่วมกัน และเครือข่ายภาคประชาสังคม เป็นกําลังสําคัญในการดําเนินงาน
9) เทศบาลตำบลกระทู้ (ต.กระทู้ อ.กระทู้ จ.ภูเก็ต): ความโดดเด่นในด้านการเสริมสร้าง
เครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม พบว่า มีการจัดทำข้อตกลงร่วมกันระหว่าง เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
และมีการจัดทำแผนการทำงานร่วมกัน โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกเครือข่ายเสนอแนวความคิดในการทำงาน
ร่วมกัน มีการแบ่งงานกันทำความความสามารถและศักยภาพของหน่วยเครือข่าย ร่วมกันทั้งภายนอกและ
ภายในชุมชน เกิดการทำงานร่วมระหว่างเครือข่ายทั้งในระดับประเทศและระดับนอกประเทศ โดยเปิด
โอกาสให้เครือข่ายแสดงศักยภาพของตนเองได้เต็มที่ อีกทั้ง พื้นที่ของจังหวัดภูเก็ตจัดเป็นพื้นที่ที่กลายเป็น
พื้นที่การท่องเที่ยว ที่มีคนต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวมากในแต่ละปี การทำงานของเทศบาลโดยการสร้าง
ศักยภาพตนเอง โดยถึงเครือข่ายเข้ามาทำงานร่วมกันจึงถือเป็นโอกาสที่สำคัญ ทำให้การทำงานของ
เทศบาลมีความคล่องตัวเพิ่มมากขึ้นนอกจากจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนในท้องถิ่นแล้วยังสามารถ
สร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายได้ด้วย
10) เทศบาลตำบลกำแพง (ต.กำแพง อ.ละงู จ.ภูเก็ต): ความโดดเด่นในด้าน
การเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม พบว่า เครือข่ายผู้ประกอบการในพื้นที่ร่วม
ขับเคลื่อนการกระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งเสริมการท่องเที่ยวที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชน ใช้
กระบวนการมีส่วนร่วมสร้างอาสาสมัครสาธารณสุขด้านสุขาภิบาลอาหารตามหลักมาตรฐานในการจำหน่าย
323