Page 367 - kpiebook62009
P. 367
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
2) องค์การบริหารส่วนตำบลโคกกลอย (ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา): ความโดด
เด่นในด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม พบว่า อบต. ใช้วิธีการขับเคลื่อนใน
การแก้ไขปัญหาโดย อาศัยเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น รพ.ตะกั่วทุ่ง อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน
อบต. ร่วมมือกันจัดอบรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ โดยการจัดอบรมให้ความรู้กับอาสาสมัคร จากวิทยากร
ผู้มีความรู้จากโรงพยาบาลตะกั่วทุ่ง จากนั้น แบ่งพื้นที่ในการดูแล เป็นสายโดยการกำหนดแบ่งพื้นที่กันเอง
ของอาสาสมัคร เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลโคกกลอย โดยรับทุนสนับสนุนจาก
สปสช. และ พมจ. และเปิดโอกาสให้ อสม. จัดทำโครงการ โดยอาศัยกองทุนสวัสดิการชุมชน เพื่อดูแล
ประชาชน ในพื้นที่ และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมโดยจัดตั้งกองทุนวันละบาทขึ้น อบต.ขับเคลื่อน
โครงการที่ 2 โดยต่อยอดจากโครงการแรก ที่ได้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผุ้ด้อยโอกาสแล้ว
ยังจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส มีกิจกรรมร่วมกัน และฝึกอบรม
การเรียนรู้ การดำรงชีวิต อาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเอง โดยเครือข่ายที่เข้าร่วม จะเป็นเครือข่ายชุด
เดิม จากโครงการแรก ซึ่งจะเน้นการอบรม โดยวิทยากร จากโรงพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ ตำบลโคกกลอย
ประสบปัญหาเรื่องขยะในพื้นที่ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วจากการเป็นแหล่งท่องเที่ยวติดทะเล ทำให้มี
ปัญหาในการจัดการขยะที่ไม่มีการเผาทำลายในพื้นที่ ต้องเอาไปทิ้งที่อื่น อบต. จึงมีแนวคิดจัดให้มีการแก้ไข
ปัญหาขยะที่ต้นทาง โดยอาศัย โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะ “ให้ท้องถิ่นสวยด้วยมือ
เรา” โดยเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง ศูนย์การเรียนรู้ โรงเรียนในพื้นที่ ผู้ปกครองนักเรียน พัฒนา
ที่ดินจังหวัด รวมกันแก้ไขปัญหา ขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยเริ่มฝึกนักเรียนในโรงเรียนให้เรียนรู้เรื่องการจัดการ
ขยะที่ต้นทาง นำไปแปรรูป หรือนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น นำไปสู่ การเป็นชุมชนไร้ถัง และจัดทำเป็น
แผนพัฒนาตำบลต่อไป
3) องค์การบริหารส่วนตำบลดงขี้เหล็ก (ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี): ความโดด
เด่นในด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม พบว่า เครือข่ายการจัดการน้ำแบบมี
ส่วนร่วม (2,200 บ่อ )พื้นที่ชุมชนมีปัญหาในพื้นที่ คือ เรื่องน้ำ ที่ไม่สามารถจัดเก็บได้ จึงได้มีการจัดทำ
แผนการดำเนินการ ร่วมกับเครือข่าย เช่น มูลนิธิอุทกพัส สถาบันออมทรัพย์บ้านทองขวาง สำนักงาน
ทรัพยากรน้ำภาค 6 ธอส. สภาองค์กรชุมชน ทหารช่างราชบุรี ฯลฯ ทั้งนี้ชุมชนเป็นหลักในกระบวนการ
ขับเคลื่อน แนวคิด การออมเป็นฐานการจัดการตนเอง จุดเริ่มจาก 1 กลุ่ม 1,000 บาท ในปี พ.ศ.2524
เริ่ม 48 คน ตอนนี้สมาชิกประมาณ 2,800 บาท เงินสะสมทั้งหมด 109 บาท ปัจจุบันมีเงินกองทุนประมาณ
400 ล้านบาท เครือข่ายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้หลัก 3Rs (แนวทาง คือ
การจัดการขยะต้นทาง) และ สร้าง 3 โรงงาน ได้แก่ “โรงงานคัดขยะ โรงงานผลิตแก๊ส โรงงานผลิตปุ๋ย”
ซึ่งดำเนินการประสาน สถาบันบ้านออมทรัพย์ โรงเรียน ในการบริหารจัดการขยะ จุดเด่นของ
การปฏิบัติงานสร้างเสริมเครือข่าย กระบวนการพัฒนาเน้นการพัฒนาวิธีคิดของคน และเชื่อมกับเครือข่าย
เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาทักษะ และวิธีการในการปฏิบัติการ เพื่อให้ชุมชนขับเคลื่อนไปได้โดยชุมชน
326