Page 369 - kpiebook62009
P. 369

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562



               การส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือการเสริมสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่น ข้อ 22 การจัดทำโครงการ/

               กิจกรรมเกี่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ ข้อ 23 การจัดทำโครงการท้าทายใหม่ๆ ในพื้นที่ของ
               อปท. ซึ่งเป็นข้อคำถามที่ อปท. ต้องนำกลับไปทบทวนโครงการท้าทายใหม่ๆ อันจะก่อให้เกิดกิจกรรม/

               โครงการที่เข้าลักษณะเป็นนวัตกรรมท้องถิ่น ซึ่งท้าทายปัญหาที่ อปท. เผชิญอยู่ รวมทั้งแก้ปัญหาใหม่ๆ

               ที่เกิดขึ้น เช่น วิกฤตสิ่งแวดล้อม พลังงาน อาหาร สุขภาพ และการบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น
                                 นอกจากนี้ ในหมวดที่ 6 ว่าด้วยการส่งเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งของประชาชน

               ปรากฎว่า อปท. ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร โดยเมื่อพิจารณาจากคะแนนโดยภาพรวม พบว่า ได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่ง

               (10 คะแนน) จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน และเมื่อพิจารณารายข้อคำถาม พบว่า ข้อคำถามที่ปรากฎว่าได้
               คะแนนน้อย ได้แก่ ข้อ 39 การจัดทำหรือสนับสนุนแผนงาน หรือ โครงการ หรือ กิจกรรม ส่งเสริมการ

               เรียนรู้หรือศักยภาพของกลุ่ม/องค์กรชุมชน รูปแบบต่างๆ ซึ่ง อปท. ควรมีการสนับสนุนโครงการ/กิจกรรม

               ต่างๆ เพื่อให้ท้องถิ่น/ชุมชน เกิดการเรียนรู้ เพื่อสร้างเป็นโครงการนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นในการพัฒนา
               ศักยภาพของชุมชนเองด้วย และ ข้อ 40 - 44 ซึ่ง อปท. จะได้คะแนนน้อยมาก โดย อปท. ควรมีการจัดตั้ง

               โรงเรียนส่งเสริมพลเมือง ในพื้นที่ อปท. ของตนเอง เพื่อส่งเสริมการสร้างสำนึกทางพลเมืองในพื้นที่ อปท.

               ของตนเอง รวมทั้งมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งมีการคัดลอกคำตอบหลายๆ ข้อมาจากใบสมัครฯ
               ของปีที่ผ่านมา

                           1.2 ประเภทรางวัลความเป็นเลิศการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ พบว่า อปท.

               ทั้งระดับ อบจ. เทศบาล และ อบต. ส่วนใหญ่มีค่าคะแนนตัวชี้วัดขั้นพัฒนาค่อนข้างน้อย ในหมวดที่ 3
               ว่าด้วยการจัดทำโครงการสาธารณะเพื่อตอบสนองความท้าทายใหม่ ปรากฎว่า อปท. ยังทำได้ไม่ดี

               เท่าที่ควร โดยเมื่อพิจารณาจากคะแนนโดยภาพรวม พบว่า ได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่ง (5 คะแนน) จากคะแนนเต็ม

               10 คะแนน และเมื่อพิจารณารายข้อคำถาม พบว่า ข้อคำถามที่ปรากฎว่าได้คะแนนน้อย ได้แก่ ข้อ 22
               การจัดทำแผนงาน หรือ โครงการหรือกิจกรรม ให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม จึงเสนอให้ อปท.

               ควรมีนโยบายหรือวิสัยทัศน์ในการดำเนินกิจกรรม/โครงการ ที่คอยช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในพื้นที่
               อปท. ของตนเอง โดยอาจมีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน พมจ. เพื่อดำเนินการช่วยเหลือ

               ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในพื้นที่ร่วมกัน และ ข้อ 26 การจัดทำแผนงาน หรือ โครงการหรือกิจกรรม เกี่ยวกับ

               การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเสนอให้ อปท. ควรส่งเสริมให้มีการบรรจุหลักสูตรกลุ่มประเทศอาเซียน
               เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่เยาวชนในพื้นที่ และ มีการศึกษาดูงานร่วมกับกลุ่มประเทศอาเซียนใกล้ๆ ประเทศ

               ไทย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการเกิดกลุ่มประชาคมอาเซียน

                                 รองลงมา ได้คะแนนไม่ถึงครึ่งที่กำหนดไว้ ในหมวดที่ 4 (การส่งเสริมศักยภาพและ
               ความเข้มแข็งของประชาชน) เช่น การจัดทำหรือสนับสนุนกิจกรรม/โครงการ ส่งเสริมการเรียนรู้หรือ

               ศักยภาพของกลุ่ม/องค์กรชุมชน,  การเสริมสร้างสำนึกพลเมือง เป็นต้น

                            1.3 ประเภทรางวัลความเป็นเลิศการเสริมสร้างเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม
               พบว่า อปท.ทั้งระดับ อบจ. เทศบาล และ อบต. ส่วนใหญ่มีค่าคะแนนตัวชี้วัดขั้นพัฒนาค่อนข้างน้อย ใน



                                                         328
   364   365   366   367   368   369   370   371   372   373   374