Page 28 - kpiebook62009
P. 28
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ จนนำไปสู่การลักลอบฆ่านกยูงไทย เทศบาลตำบลห้วยข้าวก่ำจึงได้ร่วมมือกับ
เครือข่ายภาคราชการ และภาคประชาสังคม ดำเนินโครงการเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างคนและนกยูงไทย
โดยการให้ความรู้เกี่ยวกานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวงจรชีวิตนกยูง หาแนวทางป้องกันปัญหา
ความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น และยังสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมที่จะปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนเกิด
ความหวงแหนในการอนุรักษ์พันธุ์นกยูงไทย
ระดับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีจำนวน 3 แห่ง ดังนี้
(1) องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย (ต.พลับพลาไชย อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี):
ความโดดเด่นในด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม พบว่า เกิดจากการเล็งเห็น
ความสำคัญในการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจากการเกิดอุบัติเหตุของคนในชุมชนตำบลพลับพลาไชย
ซึ่งปัญหาการเกิดอุบัติเหตุเหล่านั้นเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม ถนน ยานพาหนะ โดยเฉพาะ
ผู้ใช้รถใช้ถนนที่ขาดความรู้ความเข้าใจในกฎจารจร ขาดวินัย มารยาท และจิตสำนึกแห่งความปลอดภัย
ซึ่ง อบต.พลับพลาไชย จึงได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) ดำเนินโคตรงการเมื่อ พ.ศ.
2560 และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลพลับพลาไชยเป็นแหล่งเรียนรู้
ฝึกอบรม และปลูกจิตสำนึกในการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัยให้แก่เด็กและเยาวชน รวมถึงประชานใน
พื้นที่ ซึ่งเครือข่ายที่ดำเนินโครงการร่วมกันมีทั้งเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เช่น สสส. สกว.
สคอ. โรงเรียนในเขตพื้นที่ โรงพยาบาลอู่ทอง สถานีตำรวจอู่ทอง ซึ่งมาจากภาครัฐ ในส่วนของเอกชนมี
บริษัทศิลามาตรศรี โรงไฟฟ้าอู่ทองไบโอแมส บริษัทโตโยต้าประเทศไทยจำกัด ธนาคารธนชาติ บริษัทกลาง
คุ้มคองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ส่วนภาคประชาสังคมเป็นเครือข่ายอาสาสมัครกู้ชีพ-กู้ภัยจังหวัด
สุพรรณบุรี เครือข่ายอาสาสมัครป้องกันพลเรือนจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งผลจากการเกิดโครงการนี้ทำให้
จำนวนอุบัติเหตุลดลงจนสถิติกายเป็น 0 เนื่องจากมีหน่วยงานเครือข่ายคอยช่วยเหลือและประชาชน
ยังปฏิบัติตามกฎจราจรและยังมีการใส่หมวกกันนอกทุกคน
(2) องค์การบริหารส่วนตำบลโคกกลอย (ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา): ความโดด
เด่นในด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม พบว่า อบต. ใช้วิธีการขับเคลื่อนใน
การแก้ไขปัญหาโดย อาศัยเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น รพ.ตะกั่วทุ่ง อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน
อบต. ร่วมมือกันจัดอบรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ โดยการจัดอบรมให้ความรู้กับอาสาสมัคร จากวิทยากร
ผู้มีความรู้จากโรงพยาบาลตะกั่วทุ่ง จากนั้น แบ่งพื้นที่ในการดูแล เป็นสายโดยการกำหนดแบ่งพื้นที่กันเอง
ของอาสาสมัคร เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลโคกกลอย โดยรับทุนสนับสนุนจาก
สปสช. และ พมจ. และเปิดโอกาสให้ อสม. จัดทำโครงการ โดยอาศัยกองทุนสวัสดิการชุมชน เพื่อดูแล
ประชาชน ในพื้นที่ และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมโดยจัดตั้งกองทุนวันละบาทขึ้น อบต.ขับเคลื่อน
โครงการที่ 2 โดยต่อยอดจากโครงการแรก ที่ได้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผุ้ด้อยโอกาสแล้ว
ยังจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส มีกิจกรรมร่วมกัน และฝึกอบรม
การเรียนรู้ การดำรงชีวิต อาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเอง โดยเครือข่ายที่เข้าร่วม จะเป็นเครือข่าย
ผ