Page 25 - kpiebook62009
P. 25

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562



                                3.6 เทศบาลตำบลบ้านบึง (ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี): ความโดดเด่นในด้าน

               การเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม พบว่า เกิดเครือข่ายที่มีส่วนร่วมกันของภาครัฐ
               ประชาชน ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน ก่อให้เกิดเครือข่ายในการดำเนินกิจกรรมจาก

               ภาครัฐและประชาชนอย่างต่อเนื่องจนเกิด “สนามกีฬาที่ได้มาตรฐาน ศูนย์ฟิตเนต สระว่ายน้ำ สนาม

               ฟุตบอลในร่ม และลานออกกำลังกาย” เกิดการสร้างเครือข่ายด้านการดูแลสุขภาพ และการดูแลผู้สูงอายุ
               ขยายไปยังเด็กเยาวชน โดยสภาเด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม เกิด “ศูนย์แพทย์ชุมชน” ภายในเทศบาล

               จากการทำบันทึกข้อตกลง(MOU)กับโรงพยาบาล

                                3.7 เทศบาลตำบลป่าแดด (ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่): ความโดดเด่นในด้าน
               การเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม พบว่า การขับเคลื่อนงานภาคเครือข่ายที่สามารถ

               เชื่อมโยงกันได้นั้น มุ่งไปยังเป้าร่วมกันคือ “กลุ่มผู้เปราะบางทางสังคม” การขับเคลื่อนโดยกลไก

               ทีมสหวิชาชีพ (เห็นการใช้ภาคีเครือข่ายเข้ามา) เครือข่ายสัมพันธภาพอันดีต่อกัน เครือข่ายขับเคลื่อนด้วย
               “ระบบแชร์นโยบาย/แผนงาน แชร์วิชาชีพ/เชี่ยวชาญ แชร์งบ” การเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายมองเชิง

               “ยุทธศาสตร์การเข้าถึงบริการ” การใช้ Mind Map เป็นตัวเชื่อมโยง พร้อมกับการสร้างเรียนรู้ไปด้วยกัน

               เช่น เรื่องการรับการสนับสนุนงบประมาณที่เหมาะสม การเชื่อมโยงเครือข่ายที่มองถึง “เครือข่ายที่จะ
               ตอบสนองความต้องการ” ประชุมร่วมบ่อยๆ เน้น “การระเบิดจากข้างใน” ฯลฯ การบริหารจัดการ

               ด้วย “ท้องถิ่น ท้องที่ รพสต.” โรงเรียนนวัตกรรมทุกช่วงวัย การพัฒนาชุมชน เป็นของเราทุกคน ชุมชน

               มีความเข้มแข็ง และพร้อมพัฒนา ภาคเครือข่ายเป็นผู้สนับสนุนงานพัฒนากิจกรรม/โครงการต่างๆ เทศบาล
               ดำเนินการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนเป็นหลัก อย่างเข้าใจความเป็นชุมชน

                                3.8 เทศบาลตำบลชมภู (ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่): ความโดดเด่นในด้าน

               การเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม พบว่า เทศบาลตําบลชมภู ค้นหา พัฒนา และสร้าง
               เครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม โดยใช้หลักการ “ห่วงโซ่ ส่วนร่วม บูรณาการ อย่างยั่งยืน”

               ร่วมกับการทํางานของภาคีเครือข่ายใน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การจัดการความรู้ (Knowledge
               Management) ระหว่างภาคีเครือข่าย มีการแบ่งปันและ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ส่งผลให้เกิดชุดความรู้

               และระบบการจัดการความรู้ร่วมกัน 2) การวางแผนกําลัง (Man) ส่งเสริมให้สมาชิกเครือข่ายมีจิตสาธารณะ

               และทํางานเพื่อส่วนรวม และมีการวางระบบการทํางานเป็นทีมระหว่างเครือข่าย 3) การวางแผน
               งบประมาณ (Budget) ยึดหลักธรรมาภิบาลในการทํางานร่วมกันระหว่างภาคี เครือข่ายเพื่อแสดงถึง

               ความโปร่งใส ซึ่งนํามาสู่ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน 4) แผนกลยุทธ์ (Strategy) ภารกิจ (Mission) และ

               เป้าหมาย (Goal) กําหนดเป้าหมายร่วม สร้างกล ยุทธ์ในการทํางานเพื่อกําหนดทิศทางในการทํางาน
               ร่วมกัน ตลอดจน กําหนดภารกิจร่วมกันระหว่าง ภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการทํางาน จาก

               การใช้หลักการ “ห่วงโซ่ ส่วนร่วม บูรณาการ อย่างยั่งยืน” ช่วยให้เทศบาลตําบลชมภูสามารถพัฒนา และ

               สร้างเครือข่ายในการทํางานได้มากถึง 50 เครือข่าย และเครือข่ายร่วมกันทํางานอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้
               เครือข่ายสําคัญของเทศบาลตําบลชมภู ได้แก่ เครือข่ายภาคท้องถิ่น เครือข่ายภาคท้องที่ และเครือข่ายภาค



                                                          น
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30