Page 23 - kpiebook62009
P. 23
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
ความขัดแย้งในสังคม และร่วมวางแผนกระบวนการพัฒนาคน (การรู้เท่าทันข้อกฎหมาย การอนุรักษ์
ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา การนำหลักศาสนานำชีวิต) พัฒนากาย (การส่งเสริมทางด้านสุขภาพ และ
เศรษฐกิจ) พัฒนาจิต (สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความไม่เข้าใจกันของประชาชนและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ)
3. ประเภทรางวัลความเป็นเลิศด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม
ระดับเทศบาล มีจำนวน 13 แห่ง ได้แก่
3.1 เทศบาลเมืองแม่เหี๊ยะ (ต.แม่เหี๊ยะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่): ความโดดเด่นในด้าน
การเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม พบว่า ขบวนการขับเคลื่อน มีเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดย
ธรรมชาติ กล่าวคือ ด้วยกิจกรรม/โครงการมีความต่อเนื่องต่อยอด มีอาสาสมัครชุมชน และมีเครือข่ายที่
เป็นมิตรกับชุมชน ตลอดจนมีการขยายงานและอาสาสมัครในทุกพื้นที่ชุมชน ในบริบทชุมชนที่มีความเป็น
เมือง และมีชุมชนบ้านจัดสรรเกิดขึ้นมาก ทางเทศบาลเมืองแม่เหียะ จะหลักสำคัญ คือ “การต้องเข้าถึง
ชุมชน” เป็นฐานการพัฒนา ดังนั้น การขยายเครือข่ายในพื้นที่ ที่จะดึงสมาชิกชุมชนบ้านจัดสรรเข้ามามี
ส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา และเครือข่าย 2 ระบบ ได้แก่ เครือข่ายสนับสนุน และ เครือข่ายปฏิบัติการ
ชุมชน ซึ่งเครือข่ายที่ให้การสนับสนุนชุมชน เป็นจะเป็นทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ครอบคลุมทุกบริบท
การพัฒนาชุมชน ในขณะที่ เครือข่ายปฏิบัติการชุมชน ในที่นี้คือ เครือข่ายอาสาสมัครชุมชน เครือข่ายผู้นำ
ชุมชน เครือข่ายกลุ่มต่างๆ ฯลฯ เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนชุมชน
3.2 เทศบาลตำบลท่าคันโท (ต.นาตาล อ.ท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์): ความโดดเด่นใน
ด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม พบว่า การขับเคลื่อนเครือข่ายเน้นการใช้กลไก
ของทีมด้านสุขภาพและความแม่นยำเรื่องข้อมูลผู้ป่วยมีการประชาสัมพันธ์ให้ครอบครัวผู้เข้าถึง App และ
เรียนรู้วิธีการใช้ซึ่งจะสะดวกมากกว่าการกด 1669 เนื่องจากเรียกผ่าน App จะสามารถระบุพิกัดของผู้ป่วย
รวมทั้งประวัติการเจ็บป่วยและการรักษาที่ผู้ให้บริการสามารถรับทราบได้ทันทีโดยไม่ต้องซักประวัติเพิ่ม
หรือเสียเวลาค้นประวัติเดิม นอกจากนี้ยังถ่ายทอดความรู้แก่ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (หมอครอบครัวภาค
ประชาชน) ที่รับผิดชอบผู้ป่วยแต่ละราย เกี่ยวกับการดูแล การแจ้งเหตุ การค้นหากลุ่มเสี่ยงพัฒนาคู่มือ
การใช้ App แก่เครือข่ายและกลุ่มเป้าหมาย พัฒนา “รถสามล้อ EMS” ที่รถวีลแชร์สามารถขึ้นได้และ
เป็นรถที่สามารถเข้าในพื้นที่คับแคบ ส่งผู้ป่วยได้ถึงเตียงในบ้าน จัดให้มีโปสเตอร์ให้ดาวน์โหลด App และ
หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน ติดทุกบ้าน จากเทคโนโลยีนี้ ทำให้ระยะเวลาการตอบสนองการออกเหตุ
(response time) เฉลี่ย 4.12 นาที ซึ่งเร็วกว่าเกณฑ์มาตรฐานการแพทย์ฉุกเฉิน
นอกจากกลไกของทีมสุขภาพแล้ว ยังใช้กลไกของชุมชนเป็นฐานในการบริหาร
จัดการโดยเฉพาะ ธนาคารกายอุปกรณ์ที่กระจายอยู่ตามชุมชน ให้ชุมชนสามารถดูแลธนาคารกายอุปกรณ์
ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานด้านการฟื้นฟูเป็นรายเคสภายใต้การกำกับอย่างใกล้ชิดของบุคลากร
สาธารณสุข ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างเจ้าหน้าที่และจิตอาสาในชุมชน และเทศบาลตำบล
ท่าคันโท มีการเชื่อมประสานเครือข่ายด้านสุภาพที่คอบคลุ่มทั้งภาครัฐ เอกชนและดึงการมีส่วนร่วมของ
ชุมชนเป็นฐานการดำเนินงานภายใต้ข้อจำกัดด้านความห่างไกลการบริการ ทางการแพทย์ที่ทันสมัย
ท