Page 20 - kpiebook62009
P. 20

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562



                  ออมสิน เข้ามาเป็นกลไกสร้างความเชื่อมั่นของธนาคารฯ เพื่อดึงการมีส่วนร่วมการจัดการปัญหาขยะของ

                  คนในชุมชน เปลี่ยนทัศนคติของคนในชุมชนให้รู้ถึงคุณค่าของขยะ และสร้างความเชื่อมั่นด้านการบริหาร
                  จัดการ และความโปร่งใส เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนในการพัฒนาด้านการบริหารจัดการ

                  โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ application ฟรี

                               (4) องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน: ความโดดเด่นในด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วม
                  ของประชาชน พบว่า การบริหารงานเพื่อตอบสนองประโยชน์ของท้องถิ่นที่นอกเหนือจากการทำตาม

                  ระเบียบการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ยังมีมิติการทำงานแบบโปร่งใส และประชาชน

                  สามารถตรวจสอบได้ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซด์ และการรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ผ่านช่องทางต่างๆ
                  แล้ว ยังมีคณะกรรมการภาคประชาชนที่เป็นอาสาสมัครในการร่วมกันตรวจสอบในโครงการกิจกรรมต่างๆ

                  เช่นโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีต เน้นอาสาสมัครที่มีความรู้เรื่องการก่อสร้างและความรู้เรื่องช่างเข้าไปมี

                  ส่วนร่วมในการทำ และร่วมตรวจสอบการก่อสร้างทุกขั้นตอน ส่วนทางด้านการประหยัดงบประมาณ เช่น
                  ในโครงการวันสารทเดือนสิบฯ อบต. สนับสนุนงบประมาณเพียงแค่ ห้าพันบาทแต่การจัดทำกระจาดต้องใช้

                  งบประมาณถึง สองหมื่นถึงห้าหมื่นบาท ซึ่งภาคประชาชนลงแรงร่วมกันบริจาคเพื่อจัดทำ และอาศัย

                  การมีส่วนร่วมขององค์กรในท้องถิ่น ประกอบด้วย สภาวัฒนธรรมตำบล เป็นองค์กรขับเคลื่อนและ
                  ตรวจสอบการดำเนินงาน ส่วนโครงการตำบลเขาดินไร้ขยะ อาศัยความร่วมมือจากชุมชน โรงเรียนเป็น

                  ผู้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินงานทุกขั้นตอน นอกจากนี้ กระบวนการทำงานขององค์การบริหาร

                  ส่วนตำบลเขาดินที่เน้นการมีส่วนร่วมและความโปร่งใสของประชาชนนั้น ในเวทีสนทนถามว่า ถ้าหากไม่มี
                  อบต.แล้ว กลุ่มประชาชนในพื้นที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตัวเองไหม ซึ่งกลุ่มสนทนาได้ให้คำตอบว่า

                  ดำเนินการเองได้ แต่ต้องอาศัย อบต.เป็นหน่วยงานสนับสนุนการทำงาน ซึ่งบ่งบอกว่า กลุ่มองค์กรในพื้นที่มี

                  ความเข้มแข็งและสามารถจัดการตนเองได้ในระดับหนึ่ง
                               (5) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะเขือ: ความโดดเด่นในด้านการส่งเสริมการมี

                  ส่วนร่วมของประชาชน พบว่า เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบคณะกรรมการ
                  ดำเนินงานตั้งแต่การวางแผนงาน การดำเนินงาน การติดตามและประเมินผล จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

                  ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะเขือ จัดให้มีช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร รายรับ

                  รายจ่ายของ อบต. ข้อมูลการจัดเก็บภาษี การตรวจสอบภายใน การร้องทุกข์ ได้แก่
                                 - เว็ปไซต์ อบต.หนองมะเขือ www.nongmakua.go.th

                                 - มี Line กลุ่ม สำหรับสื่อสารระหว่าง อบต.กับผู้นำหมู่บ้านและประชาชน ชื่อกลุ่ม

                  “VIP หนองมะเขือ” กลุ่มโรงเรียนผู้สูงอายุ กลุ่มคนรักษ์ป่าหนองมะเขือ
                                 - มี FACEBOOK เปิดเป็นสาธารณะชื่อ อบต.หนองมะเขือ อ.พล จ.ขอนแก่น

                                 - ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร รับเรื่องราวร้องทุกข์ โครงการประชุม อบต.สัญจร

                                 - โครงการประชาคมท้องถิ่นเพื่อรับฟังปัญหาความต้องการของประชาชน





                                                             ด
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25