Page 16 - kpiebook62009
P. 16
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
1.3 เทศบาลเมืองลำพูน (ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน): ความโดดเด่นในด้านการส่งเสริม
การมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ในการดำเนินกิจกรรมโครงการต่างๆ ทุกโครงการ จะมีการสำรวจ
ความต้องการโดยการเปิดเวทีประชุมพูดคุยกับทุกภาคส่วน วิเคราะห์เชิงลึก และหาแนวทางในการดำเนินการ
ที่สอดคล้องเหมาะสม ซึ่งลักษณะกิจกรรมที่ทำ จะมุ่งเน้นการพัฒนาวิธีคิด ศักยภาพ ทักษะที่จะไปใช้เพื่อ
การดำเนินการชีวิต พัฒนาศักยภาพมนุษย์ที่จะสามารถนำไปประยุกต์ต่อในการทำงานในกิจกรรมต่างๆ
หรือสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ตนเอง และมีการตรวจสอบเรื่องอาหารกลางวัน หลายชั้น อีกทั้ง ITA ได้รับ
การประเมิน ในระดับ A โดยมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับ ปปช. ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 ดำเนินการ
ร่วมกันจนถึงปี พ.ศ.2561 นอกจากนี้โครงการแต่ละโครงการ จะมีการประเมินผลอย่างรอบด้าน และ
ตรวจสอบถี่ ตรวจสอบซ้ำๆ เพื่อความเที่ยงตรงของการปฏิบัติงาน เมื่อปี พ.ศ.2561 ได้รับรางวัลด้าน
โปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยส่งกิจกรรม “เมืองลำพูนไม่ทนต่อการทุจริต” มุ่งเน้น
การสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการมีส่วนร่วมป้องกันและปราบปรามการทุจริต และการางระบบ
การบริหารจัดการองค์กรที่โปร่งใส การส่งเสริมให้ประชาชนได้รับรู้ ร่วมตรวจสอบ โดยการเผยแพร่ข้อมูล
โดยมีเครื่องมือเป็นคู่มือเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านการเงินการคลัง ระบบการจัดซื้อจัดจ้างสำปรับประชาชน
และไม่เคยมีปรากฏการร้องเรียนเกี่ยวกับการเงินการคลัง
1.4 เทศบาลนครภูเก็ต (ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต): ความโดดเด่นในด้านการส่งเสริม
การมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า มีช่องทางในการได้รับข่าวสาร หลากหลายช่องทาง เช่น ทางเว็บไซด์
ทางสื่อรายงานผลการดำเนินงานของเทศบาล กลุ่ม LINE และการติดต่อโดยตรงกับนายกเทศบาลนคร ใน
กรณีที่มีปัญหาหรือต้องการเสนอแน่ะ การทำงานของเทศบาล นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติมที่สะท้อนให้
เห็นถึงการทำงานของเทศบาลนครภูเก็ต กล่าวคือ โครงการที่ทำเป็นความท้าทายของเทศบาลนครภูเก็ต
เนื่องจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นเทศบาลไม่เคยทำมาก่อน ต้องปรับเปลี่ยนตามความต้องการของเทศบาล หรือ
ผลจากการประชุมวางแผนร่วมกัน ในขณะที่บริบทของโรงเรียนแต่ละโรงเรียนแตกต่างกัน ทำให้สำนัก
การศึกษาต้องทำงานให้สรุปเป็นรูปแบบหรือแนวทางเดียวกัน การใช้ข้อมูล ที่ใช้ในปัจจุบันยังเป็นข้อมูลเก่า
และรวมอยู่ในฐานข้อมูลเดียวกัน ดังนั้น การนำข้อมูลออกมาใช้ได้อย่างถูกต้องจำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้
และความพยายามของท้องถิ่นและโรงเรียนในสังกัดเทศบาล เกิดการต่อต้านจากผู้ปฏิบัติงานบางส่วน
เนื่องจาก กิจกรรมเป็นงานใหม่ทำให้ขาดความคุ้นชินกับระบบการทำงานแบบเดิมและเป็นการเพิ่มภาระ
ให้กับการทำงานที่มีมากอยู่แล้ว เกิดการคิดและพัฒนาระบบสารสนเทศ Q-info เนื่องจากการออกแบบ
โปรแกรมสำเร็จรูปแบบเก่าไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเทศบาลได้ และมีปัญหากับ
การจัดระบบทางการศึกษา สามารถต่อยอดไปสู่กิจกรรมอื่น เช่น ในด้านสุขภาพของเด็ก ด้านความยากจน
ของนักเรียนเพื่อช่วยเหลือและได้รับการดูแลเพิ่มมากขึ้น จัดเป็นเด็กกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
เพื่อการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ
ฐ