Page 15 - kpiebook62009
P. 15
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
1. ประเภทรางวัล ความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
ระดับเทศบาล มีจำนวน 8 แห่ง ได้แก่
1.1 เทศบาลเมืองชัยภูมิ (ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ): ความโดดเด่นในด้านการส่งเสริมการ
มีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ทุกโครงการของเทศบาลมีจุดเริ่มมาจากปัญหาของชุมขน มี
การประชุม ประชาคมพิจารณาปัญหาร่วมกัน และร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ทั้ง 25 ชุมชน
โดยมีชุมชนที่ให้ความร่วมมือในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาและเข้าร่วมกิจกรรมโครงการของทางเทศบาล
15 ชุมชน และมีการร่วมมือกับชุมชนนอกเขตเทศบาลและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมแก้ไขปัญหา
และพัฒนาเทศบาลให้ดียิ่งขึ้นใช้ปัญหาของประชาชนแทนการกำหนดงบประมาณในการเริ่มต้นโครงการ
โครงการที่โดดเด่นทั้งสามโครงการสะท้อนให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลาย
น้ำ การสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน การร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะในเทศบาล ปัญหาน้ำท่วมขัง
ปัญหาด้านเศรษฐกิจ การจ้างงาน การสร้างรายได้ ให้กับคนในชุมชน โดยใช้โครงการใน
การแก้ไขปัญหาต่างๆ ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่การประชุม การกำหนดนโยบาย การฝึกอบรมผู้นำชุมชน
การถ่ายทอดกระบวนการ การคืนข้อมูลสู่ชุมชน การติดตาม และการประเมินผลโครงการ
1.2 เทศบาลนครอุดรธานี (ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี): ความโดดเด่นในด้าน
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า การแก้ไขปัญหาคนไร้สัญชาติไร้สถานะทางทะเบียน
ช่วยเหลือประชาชนผู้ตกหล่นทางทะเบียนที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักให้ได้รับการกำหนด
สถานะตามกฎหมายและได้รับสิทธิต่างๆ จากทางภาครัฐเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ให้ดีขึ้นโดย
คำนึงถึงความสมดุลของสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์และความมั่นคงของชาติควบคู่กันไม่ใช้ปัญหาและ
ข้อจำกัดในอดีตมาเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาคนไร้สัญชาติไร้สถานะทางทะเบียน อีกทั้งการก่อสร้าง
และบริหารจัดการระบบกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนขนาดไม่น้อยกว่า 300 ตันต่อวัน เป็นโครงการที่ภาค
ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนการร่วมคิด จากการตระหนักถึงปัญหาขยะล้นเมือง ผ่านการรับฟังความ
คิดเห็นจากประชาคม และการประชุมสภา โดนทางเทศบาลได้เห็นความสำคัญจึงนำมาบรรจุใน
แผนพัฒนาฯของเทศบาลนครอุดรธานี จนกลายเป็น “แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยอุดรธานี” โดยได้
“จัดตั้งคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลมูลฝอย” โดยมีตัวแทนจากภาคประชาชน หน่วยงานรัฐ และองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานีเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ นอกจากนี้ เทศบาลนครอุดรธานี ได้เปิด
ช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และข้อร้องเรียนต่างๆในหลายช่อทาง เช่น ผ่านตัวแทนประธานชุมชน
ทั้ง 104 ชุมชน, สายด่วนนครอุดรธานี, เว็บไซต์, ช่องทาง Social network ต่างๆ และมีการจัดตั้ง
คณะกรรมการที่มากจากลายภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน ให้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ
การดำเนินงานระหว่างกับคณะกรรมการบริหารเทศบาล โดยการแต่งตั้งในรูปแบบของคำสั่งที่มี
ความชัดเจน
ฏ