Page 19 - kpiebook62009
P. 19
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ส่วนทางด้านศาสนาพบว่าการให้ความสำคัญกับทุกศาสนาในการจัดพิธีกรรมทาง
ศาสนา และเน้นวัฒนธรรมที่อยู่รวมกันอย่างสันติสุข
(2) องค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสาม: ความโดดเด่นในด้านการส่งเสริมการมี
ส่วนร่วมของประชาชน พบว่า อบต. นาพันสามให้ภาคประชาชน เช่น แกนนำหมู่บ้าน ชาวบ้าน อสม.
รพ.สต. เป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานซึ่งทำงานร่วมกันไปอย่างเป็นระบบ มี”สภากาแฟ”เป็นกลไก
การในทำงาน เป็นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน มีการจัดประชมหรือสภากาแฟขึ้นทุกวันที่ 12
ของเดือน ทุกการทำงานของอบต.นาพันสามจะผ่านสภากาแฟ ใช้วัฒนธรรมและประเพณีดึงการมีส่วนร่วม
ของประชาชน ในเรื่องของการวางแผนการทำงาน มีส่วนร่วมการทำงานร่วมกัน โดย “วัด” เป็นตัวเชื่อม
ประสาน ร่วมทุกขั้นตอน ทุกโครงการมีการดำเนินงานร่วมกันอย่างตลอดเวลา ซึ่งสภากาแฟนี้เป็นแผนชีวิต
ให้เป็นลานแลกเปลี่ยนความรู้ในทุกเรื่องของคนตำบลนาพันสาม และใช้กลไกผ่าน “สภากาแฟ” เพื่อร่วมคิด
ร่วมคุย โดยคุยกันได้ทุกคน ชาวบ้าน ผู้บริหาร อบต. มีการร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาอย่างลึกซึ้ง เพื่อเสนอ
แนวทางแก้ไขกัน ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและเกิดความโปร่งใส ทำให้ประชาชนสามารถสอบถามตรวจสอบ
ขอดูการทำงานของอบต.นาพันสามได้ทุกขั้นตอน และสามารถสรุปโครงการหรือความก้าวหน้าของ
โครงการให้ประชาชนรับทราบได้อย่างชัดเจน อีกทั้งประชาชนสามรถตรวจสอบความโปร่งใสโดยสามารถ
ตรวจสอบรายรับ-รายจ่ายในแต่ละโครงการที่อบต.นาพันสามได้ดำเนินการได้
(3) องค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง: ความโดดเด่นในด้านการส่งเสริมการมีส่วน
ร่วมของประชาชน พบว่า จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 1 ชุด ประกอบไปด้วย นายก อบต. (ประธาน)
รองนายกฯ ปลัด ผอ.กองคลัง ปธ.อถล. แต่ละหมู่ นอกจากนี้มีคณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์
ฝ่ายซื้อขาย ฝ่ายติดตามสมาชิก ซึ่งมีการประชุมคณะกรรมการฯ เป็นประจำทุกเดือน โดยประธานกลุ่ม
แต่ละหมู่จะเป็นผู้ให้ข้อมูล ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบถึงผลการดำเนินงาน และระดมความคิดเห็นเพื่อแก้ไข
ปัญหา อุปสรรค สนับสนุนการดำเนินงานของโครงการฯ โดยการสนับสนุนสถานที่เป็นที่ตั้งการดำเนินงาน
ของธนาคารขยะฯ ตลอดจนการทำกิจกรรมต่อยอดจากการนำขยะ ที่โรงงานไม่รับซื้อ เช่น ถุงผงซักฟอก
น้ำยาปรับผ้านุ่ม โดยกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มสตรี นำมาตัดเย็บกระเป๋า หมวก ผ้ากันเปื้อน จำหน่ายเป็น
รายได้เสริม ซึ่งได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรเย็บผ้าจากธนาคารทหารไทย ให้ภาคประชาชนเป็นกลไก
การดำเนินงานหลัก ซึ่งประกอบไปด้วย กลุ่ม อสม. กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่ม อถล. และแกนนำชุมชนใน
การดำเนินการประชาสัมพันธ์ บริหารจัดการการรับซื้อ-ขายขยะ การกำหนดกติการ่วมกัน การดูแลสมาชิก
(ให้แกนนำ อถล. 1 คน ดูแลสมาชิก 10 คน) รวมทั้งการคิดสร้างสรรค์กิจกรรมต่อยอดต่างๆ เพื่อสร้างความ
ยั่งยืนของโครงการ และให้ประชาชนมีอาชีพเสริม มีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถสร้างการมีส่วน
ร่วมของชุมชนแนวตั้ง (คอนโด, เคหะชุมชน) ในการจัดการปัญหาขยะ ขยายผลการมีส่วนร่วมในระดับ
โรงเรียน โดยครูสามารถบูรณาการปัญหาขยะในการจัดการเรียนการสอน และสร้างกลุ่มแกนนำนักเรียน
ทำกิจกรรมรณรงค์ สร้างความตระหนักรู้ปัญหาขยะ การคัดแยกขยะ ในโรงเรียน และให้นักเรียนรู้จักการ
แยกขยะ และคุณค่าของขยะ เพื่อมาเป็นทุนการศึกษา ผู้นำ (นายกฯ) มีวิสัยทัศน์และประสานให้ธนาคาร
ณ