Page 21 - kpiebook62009
P. 21

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562



                              - จัดทำป้ายสัญลักษณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้

               เข้าใจได้ง่าย
                            นอกจากนี้ ประชาชนบริจาคที่ดินเพื่อเป็นทางขึ้นไปดับไฟป่า เพื่อทำถนนหน้ากว้าง 8

               เมตร รวม 8 ไร่ และสามารถทวงคืนผืนป่าจากการบุกรุกได้ 400 ไร่ โดยปราศจากความรุนแรง ได้รับรางวัล

               ลูกโลกสีเขียวระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่ง
               ประเทศไทย ปี 2562

                            2. ประเภทรางวัลความเป็นเลิศด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์

                               ระดับเทศบาล มีจำนวน 3 แห่ง ได้แก่
                               (1) เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ (ต.กาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์) : ความโดดเด่นในด้าน

               การเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ พบว่า โครงการจุติสุขาวดีฯ ขับเคลื่อนจากการจัดทำเวที

               สะท้อนความคิดเห็น ปัญหาที่เกิดขึ้นและการระดมแนวทางการทำงาน โดยมุ่งให้เกิดชุมชนเอื้ออาทรมี
               การส่งต่อข้อมูลจากโรงพยาบาลสำหรับเคส palliative care และชุมชนแจ้งเองก่อนให้ความช่วยเหลือ

               มีการประชุมก่อนทุกเคส หลังดำเนินการมีการถอดบทเรียน การขับเคลื่อนใช้เงินบริจาคทั้งหมด อันเป็น

               สิ่งที่สะท้อนถึงการเป็นสังคมสันติสุขเอื้ออาทรต่อกัน บทบาทของเทศบาล จัดหาวิทยากรให้ความรู้เรื่อง
               การดูแล อำนวยความสะดวกรถรับส่งจากโรงพยาบาลมาที่บ้าน ผู้บริหารเทศบาลจะลงเยี่ยมทุกเคส อีกทั้ง

               อำนวยความสะดวกโดยให้พื้นที่จิตสาอาได้ทำงานเต็มที่ ช่วยเหลือรถรับส่ง รถแห่ศพ เครื่องมือการทำงาน

               สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเทศบาลกับเคส คือ “สมุดเบาใจ” สำหรับ โครงการคนกาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใครไว้
               ข้างหลัง ใช้กลไกการขับเคลื่อนโดยจับคู่อุปถัมภ์ระหว่างบุคลากรของเทศบาลกับครอบครัวของสมาชิกใน

               ชุมชน (คู่บัดดี้) เพื่อให้การดูแลเป็นไปอย่างทั่วถึง และทันต่อเหตุการณ์ และยังส่งเสริมให้ชุมชนรอบข้าง

               และภาคธุรกิจเอกชน ให้การสนับสนุนด้านอาชีพ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน มีอาชีพที่มั่นคงและพึ่งตนเองได้
                               (2) เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี (ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี): ความโดดเด่นใน

               ด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ พบว่า ประชุมชุมชนและเครือข่ายทุกเดือน ทุกพุธที่ 2
               ของเดือน มีศูนย์ดูแลแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน มีนโยบาย “ประชาชนเดือดร้อน ต้องแก้ไขปัญหา

               โดยเร็ว” (ศูนย์ติดตามการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน) เป็นกลไกการจัดการอย่างมีส่วนร่วม

               สมาคมต่างๆ เป็นกลไกในการกำกับ ควบคุมการจดทะเบียน (ขึ้นทะเบียน) เช่น สมาคมช่างเสริมสวย/ร้าน
               ตัดผม ชมรมร้านอาหาร ฯลฯ ทั้งนี้มีฐานคิดว่า “อาชีพเดียวกัน เขาจะคุยกันง่ายกว่า เทศบาล” เทศบาล

               ลงพื้นที่เป็นประจำ บ่อยครั้ง อย่างเป็นมิตร เข้าถึงง่าย “ให้รอยยิ้ม ให้ความเมตตา ให้อภัย ให้โอกาส

               ให้พลังใจ ให้วาจาที่ดี ให้ความสำคัญ” เทศบาลทำงานอย่างมีศีลธรรม จรรยา (ทาน ศีล ภาวนา) เทศบาล
               มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชม ส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวของกลุ่ม/ชมรมต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา

               ชุมชน เทศบาล ส่งเสริมทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย







                                                          ต
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26