Page 26 - kpiebook62009
P. 26
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
ประชาชน ซึ่งเปรียบเสมือนสามเสาหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่น เครือข่ายภาคท้องถิ่น
ทําหน้าที่จัดให้มีการบริการสาธารณะที่ตอบสนองต่อปัญหาหรือความต้องการของประชาชนในพื้นที่
เครือข่ายภาค ท้องที่ ทําหน้าที่พัฒนาพื้นที่แบบคู่ขนานไปพร้อมกับเครือข่ายภาคท้องถิ่น โดยมีเป้าหมาย
การพัฒนาที่คํานึงถึงความ อยู่ดีมีสุขของประชาชนร่วมกัน และเครือข่ายภาคประชาสังคม เป็นกําลังสําคัญ
ในการดําเนินงาน
3.9 เทศบาลตำบลกระทู้ (ต.กระทู้ อ.กระทู้ จ.ภูเก็ต): ความโดดเด่นในด้าน
การเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม พบว่า มีการจัดทำข้อตกลงร่วมกันระหว่าง
เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และมีการจัดทำแผนการทำงานร่วมกัน โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกเครือข่ายเสนอ
แนวความคิดในการทำงานร่วมกัน มีการแบ่งงานกันทำความความสามารถและศักยภาพของหน่วย
เครือข่าย ร่วมกันทั้งภายนอกและภายในชุมชน เกิดการทำงานร่วมระหว่างเครือข่ายทั้งในระดับประเทศ
และระดับนอกประเทศ โดยเปิดโอกาสให้เครือข่ายแสดงศักยภาพของตนเองได้เต็มที่ อีกทั้ง พื้นที่ของ
จังหวัดภูเก็ตจัดเป็นพื้นที่ที่กลายเป็นพื้นที่การท่องเที่ยว ที่มีคนต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวมากในแต่ละปี
การทำงานของเทศบาลโดยการสร้างศักยภาพตนเอง โดยถึงเครือข่ายเข้ามาทำงานร่วมกันจึงถือเป็นโอกาส
ที่สำคัญ ทำให้การทำงานของเทศบาลมีความคล่องตัวเพิ่มมากขึ้นนอกจากจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับ
ชุมชนในท้องถิ่นแล้วยังสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายได้ด้วย
3.10 เทศบาลตำบลกำแพง (ต.กำแพง อ.ละงู จ.ภูเก็ต): ความโดดเด่นในด้าน
การเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม พบว่า เครือข่ายผู้ประกอบการในพื้นที่ร่วม
ขับเคลื่อนการกระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งเสริมการท่องเที่ยวที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชน
ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมสร้างอาสาสมัครสาธารณสุขด้านสุขาภิบาลอาหารตามหลักมาตรฐานในการ
จำหน่ายอาหารและผู้สัมผัสอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค และกระตุ้นจิตสำนึกเป็น
กลไกในการดำเนินงานการ ลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารภายในกิจกรรมการจัดงานและ
ชีวิตประจำวัน เครือข่ายส่งเสริมการกีฬา เพื่อช่วยกันหาระดมทุนค่าใช้จ่าย วัสดุ-อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม
ด้านกีฬา ร่วมบริหารจัดการ การกำหนดรูปแบบ การจัดการแข่งขัน การแก้ปัญหา รวมถึงพัฒนาสู่
การจัดตั้ง “กองทุนจาบังเกมส์” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะด้านกีฬาให้แก่เด็ก เยาวชนในเขต
เทศบาลให้มีทักษะกีฬาฟุตบอลและวอลเลย์บอลที่ดีขึ้น ใช้เวลาว่างกับการกีฬา สนับสนุนอุปกรณ์กีฬา
ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนที่ขาดแคลน และช่วยเหลือครอบครัวนักกีฬาที่ได้รับความเดือดร้อน เครือข่าย
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ชุมชน
การจัดตั้งกลุ่มและรวบรวมสมาชิกในการนำขยะอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ เช่น กลุ่มคัดแยกเศษผักเพื่อไปหมัก
ทำน้ำชีวภาพ กลุ่มนำเศษอาหาร หรือ อื่นๆ ไปเป็นอาหารสัตว์ ซึ่งนำหมักชีวภาพที่ได้นั่นนำไปใช้ทาง
การเกษตร และไว้สำหรับชะล้างต่างๆ และจัดตั้งศูนย์การจัดการขยะอินทรีย์ รวมเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ มี
จุดสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ และนำไปใช้ในการเกษตร
บ