Page 27 - kpiebook62009
P. 27
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
3.11 เทศบาลเมืองบ้านฉาง (ต.บ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง): ความโดดเด่นใน
ด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม พบว่า เทศบาลเมืองบ้านฉาง เน้นการพัฒนา
ทุกช่วงวัย เด็ก/เยาวชนเน้นการพัฒนาด้านสมองและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเทศบาลได้จัดตั้งโรงเรียน
นานาชาติขึ้น โครงการนวัตกรรมได้มีการประสานระหว่างโรงเรียน ชุมชน และคนกลุ่มทุกช่วงวัย
คาดหมายว่า “จะเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์” ตลาดนัดชุมชน สิ่งที่ทางผู้บริหารได้จัดทำ
ตลาดนัดชุมชนขึ้น เพื่อให้คนในชุมชนได้มาค้าขาย สร้างอาชีพ และเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนทางอาชีพ
หลักสำคัญ คือ “การทำให้คนมีรายได้” เพื่อให้คนอยู่ได้ มุ่งหมายให้ “ผู้ประกอบการเป็นหุ้นส่วนอาชีพ”
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาไปด้วยกัน และรายได้จากตลาดส่วนหนึ่งเป็นเงินสนับสนุนการดูแลผู้
เปราะบางทางสังคม หลักคิด “เราทำ เขาเห็น “เขาจึงอยากสนับสนุน” เราไม่ต้องไปขออะไรใครมาก
ก็จะมีคนมาสนับสนุนเราเอง ฉะนั้น เราต้องทำจริง และเป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์กับสมาชิกในชุมชนสูงวัย
สุขกาย สุขใจ เป็นพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และสร้างความสุขร่วมกัน (มีเอกชน จะ
สร้างอาคารสำหรับผู้สูงอายุ ได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน)
3.12 เทศบาลตำบลท่าสาป (ต.ท่าสาป อ.เมือง จ.ยะลา): ความโดดเด่นในด้าน
การเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม พบว่า เครือข่ายจิตอาสาพยาบาลชุมชนเพื่อชีวิต
เพื่อบริการบำบัดฟื้นฟูปัญหาด้านการเคลื่อนไหว และปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเครือข่าย
วิทยากรจิตอาสาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุส่งเสริมการพัฒนา
ตนเอง การดูแล คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ เสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและ
จิตใจ สร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม เห็นคุณค่าภูมิปัญญาผู้ให้เป็นที่ประจักษ์และยอมรับให้ดำรง
สืบต่อไป
3.13 เทศบาลตำบลห้วยข้าวก่ำ (ต.ห้วยข้าวก่ำ อ.จุน จ.พะเยา): ความโดดเด่นใน
ด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม พบว่า พื้นที่ตำบลห้วยข้าวก่ำนั้นเป็นพื้นที่ติด
กับเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ ซึ่งเป็นแหล่งสุดท้ายที่มีนกยูงไทยมากที่สุด ซึ่งปัจจุบันนกยูงไทยใกล้สูญ
พันธุ์ ปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดกาสูญพันธุ์คือป่าไม้ถูกทำลายจากฝีมือมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า
การเผาป่า ทำให้ขาดแคลนแหล่งอาหารและแหล่งน้ำ รวมทั้งไฟป่ายังได้ทำลายนกยูงและไข่นกยูงในช่วง
ฤดูวางไข่ ทำให้ประชากรนกยูงลดลงเรื่อยๆ เทศบาลตำบลห้วยข้าวก่ำจึงต้องการที่จะอนุรักษ์นกยูงไทยให้
อยู่คู่กับตำบลห้วยข้าวก่ำและอำเภอจุน โดยจะดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เพื่อสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยให้นกยูงไทย โดยมีการปลูกป่า การจัดทำแนวกันไฟ และการสร้างฝายชะลอน้ำ
และกักเก็บน้ำ โดยทำงานร่วมกับเครือข่ายภาครัฐ คือ ที่ว่าการอำเภอจุน มหาวิทยาลัยพะเยา เขตรักษา
พันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ โรงเรียนอนุบาลบัวสถาน โรงเรียนบ้านทุ่ง และโรงเรียนจุนวิทยาคม ส่วนภาคประชาสังคม
คือ วัดดอยกู่ไก่แก้ว วัดกู่ผางลาง ผู้นำท้องถิ่น เครือข่ายชุมชนรักษ์นกยูงไทย พะเยาทีวีชุมชน และชาวบ้าน
ตำบลห้วยข้าวก่ำ โครงการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนและนกยูงไทย เกิดจากปัญหาความขัดแย้ง
ระหว่างคนและนกยูงไทย เนื่องจากนกยูงไทยได้ลงมากินพืชผลทางการเกษตรของเกษตรกรที่อยู่ตามแนว
ป