Page 30 - kpiebook62009
P. 30
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
1) ข้อเสนอแนะที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สมัครร่วมโครงการและเห็นว่า อปท. หลาย
แห่ง มีค่าคะแนนตามตัวชี้วัดขั้นพัฒนา (Performance Indicators) ค่อนข้างต่ำหรือน้อยทุกระดับ จึงมี
ข้อเสนอแนะ โดยจำแนกเป็นประเภทรางวัลและหมวดหมู่ของแต่ละคะแนนที่ได้น้อย ดังนี้
1.1 ประเภทรางวัลความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
พบว่า อปท. ที่สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งระดับ อบจ. เทศบาล และ อบต. จะมีค่าคะแนนตัวชี้วัดใน
ขั้นพัฒนาค่อนข้างน้อยในหมวดที่ 4 ว่าด้วยกิจการสภา ทั้งนี้เพราะส่วนใหญ่จะได้คะแนนไม่ถึงครึ่งหนึ่ง
(5 คะแนน) จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน และเมื่อพิจารณาจากข้อคำถามจากใบสมัครฯ พบว่า ข้อคำถามที่
อปท.ได้คะแนนน้อย ได้แก่ ข้อ 31.2 การเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในการประชุมสภาฯ
พบว่า ประชาชนมีโอกาสมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นค่อนข้างน้อยมาก ซึ่งเป็นประเด็นที่ อปท. ควร
พิจารณาว่าจะดำเนินการให้ประชาชนมีโอกาสได้พูด หรือ แสดงความคิดเห็นได้หรือไม่ หรือ อาจจะหา
วิธีการกระทำนอกรอบการประชุมสภาท้องถิ่น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดง
ความคิดเห็น เช่น การแสดงความคิดเห็นผ่านตัวแทน หรือการมีวาระให้แสดงความคิดเห็น มีการ
ถ่ายทอดสดแบบ conferences หรือผ่านช่องทางสื่อสารอื่นๆ และ ข้อ 32 ว่าด้วยการเปิดให้มีข้อบัญญัติที่
เสนอโดยประชาชน กลุ่ม องค์กรชุมชน ซึ่งพบว่ามีจำนวนน้อยมากเช่นกัน อาจจะเป็นเพราะว่าประชาชน
ไม่รู้ หรือ ในทางปฏิบัติขาดความรู้ในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ดังนั้น อปท. จึงเสนอให้ อปท.ให้ความรู้
ความเข้าใจแก่ประชาชนในวิธีการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น และควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ
ข้อบัญญัติท้องถิ่นให้ประชาชนทราบ รวมทั้งให้แนะแนวทาง/วิธีการเสนอแก่ประชาชน
รองลงมาในข้อ 2.2 ว่าด้วยการจัดทำโครงการและบริการสาธารณะเพื่อตอบสนอง
ความท้าทายใหม่ ปรากฎว่า อปท. ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร โดยเมื่อพิจารณาจากคะแนนโดยภาพรวม พบว่า
ได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่ง (5 คะแนน) จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน และเมื่อพิจารณารายข้อคำถาม พบว่า
ข้อคำถามที่ปรากฎว่าได้คะแนนน้อย ได้แก่ ข้อ 18 เรื่องการจัดทำโครงการ/กิจกรรมให้ความช่วยเหลือ
ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ข้อ 21 การจัดทำโครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
การส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือการเสริมสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่น ข้อ 22 การจัดทำโครงการ/
กิจกรรมเกี่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ ข้อ 23 การจัดทำโครงการท้าทายใหม่ๆ ในพื้นที่ของ
อปท. ซึ่งเป็นข้อคำถามที่ อปท. ต้องนำกลับไปทบทวนโครงการท้าทายใหม่ๆ อันจะก่อให้เกิดกิจกรรม/
โครงการที่เข้าลักษณะเป็นนวัตกรรมท้องถิ่น ซึ่งท้าทายปัญหาที่ อปท. เผชิญอยู่ รวมทั้งแก้ปัญหาใหม่ๆ
ที่เกิดขึ้น เช่น วิกฤตสิ่งแวดล้อม พลังงาน อาหาร สุขภาพ และการบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น
นอกจากนี้ ในหมวดที่ 6 ว่าด้วยการส่งเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งของประชาชน
ปรากฎว่า อปท. ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร โดยเมื่อพิจารณาจากคะแนนโดยภาพรวม พบว่า ได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่ง
(10 คะแนน) จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน และเมื่อพิจารณารายข้อคำถาม พบว่า ข้อคำถามที่ปรากฎว่าได้
คะแนนน้อย ได้แก่ ข้อ 39 การจัดทำหรือสนับสนุนแผนงาน หรือ โครงการ หรือ กิจกรรม ส่งเสริม
การเรียนรู้หรือศักยภาพของกลุ่ม/องค์กรชุมชน รูปแบบต่างๆ ซึ่ง อปท. ควรมีการสนับสนุนโครงการ/
พ