Page 11 - kpiebook62002
P. 11
คู่เจรจาภายนอกที่จะมีบทบาทส าคัญต่อการช่วยไทยและอาเซียนพัฒนาในเรื่องนี้ได้ทั้งสหรัฐอเมริกา จีน
สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ฯลฯ
2. สร้างระบบที่ยั่งยืนและบูรณาการการท างานระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมดโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อให้เป็นเจ้าภาพทางทางวิชาการโดยเริ่มต้นจากการเป็นหน่วยงานขนาด
เล็กที่มุ่งสร้างสมรรถนะก่อน เช่น การจัดตั้งส านักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(ปปม.)
3. ไทยควรหันมาพัฒนาแนวคิดและวิธีการในด้าน Prevention (การป้องกัน) ในยุทธศาสตร์การต่อต้าน
การค้ามนุษย์มากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่ "สาเหตุพื้นฐาน" ซึ่งจะตัดวงจรของภัยคุกคามจากปัญหาความมั่นคง
แบบใหม่ได้ โดยเน้นบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านการป้องกันให้มากขึ้น จัดท าแผนปฏิบัติการและ
ขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิผลมากกว่าจะเน้นแต่ในด้าน Prosecution (การด าเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย) ที่
ปัจจุบันท าได้ดีอยู่แล้วทั้งในไทยและในระดับอาเซียน
4. ทั้งไทยและอาเซียนควรเร่งพัฒนาค านิยามเพื่อการท างานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและทุกภาคส่วนของ
สังคมมีความเข้าใจตรงกันเพื่อจัดการปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ เช่น การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ อาชญากรรม
ไซเบอร์ โดยสามารถน าค านิยามที่ปรากฏทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาคมาปรับใช้หรือก าหนดให้สอดคล้อง
กัน แล้วจึงขยายไปสู่การก าหนดแนวทางหรือแนวปฏิบัติร่วมกับประเทศอื่นในระดับทวิภาคีเพื่อให้
ประสิทธิภาพมากที่สุดในการจัดการปัญหาร่วมกัน
5. ในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ไทยควรเร่งยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ทั้งการพัฒนา
กลไกหลักในการประสานความร่วมมือและก าหนดทิศทางการพัฒนาความมั่นคงในระดับชาติ การจัดตั้ง
กองทุนเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจตั้งแต่วัยเรียน ไปจนถึงการจัดตั้งหน่วยงานและข้อตกลงในระดับภูมิภาค
เพื่อใช้เป็นกรอบในการก าหนดทิศทางการพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันบน
พื้นฐานของค่านิยมสากล แต่ก็ต้องเอื้อต่อการปรับการด าเนินการให้ใกล้เคียงกันและมีส่วนช่วยสร้างสมรรถนะ
ในขณะที่แต่ละประเทศมีเงื่อนไขและบริบทแตกต่างกัน
[ฉ]