Page 8 - kpiebook62002
P. 8
บทสรุปผู้บริหาร
ภัยคุกคามจากความมั่นคงรูปแบบใหม่อันเป็นผลจากสภาวะโลกที่ไร้พรมแดนมากขึ้นและการพึ่งอาศัย
ระหว่างกัน ถือเป็นความท้าทายส าคัญส าหรับประเทศไทยในการปฏิรูปประเทศ ภัยคุกคามดังกล่าวมีรูปแบบที่
หลากหลายและไม่ใช่เรื่องทางทหาร มีลักษณะข้ามชาติ (transnational) จากตัวกระท าการ (actors) ที่
หลากหลาย ซึ่งรัฐชาติทั้งหลายต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างรัฐและการแก้ไขปัญหาที่รอบด้าน โครงการวิจัย
เรื่อง “ไทยกับความมั่นคงรูปแบบใหม่: การค้ามนุษย์ การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ อาชญากรรมข้ามชาติ และความ
มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” เป็นการต่อยอดการวิจัยจากรายงานการวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าเรื่อง “Non-
Traditional Challenges: Thailand and Regional Cooperation” โดย Amitav Acharya เพื่อสร้างความ
เข้าใจต่อภัยคุกคามรูปแบบใหม่มากขึ้นทั้งในเรื่องการค้ามนุษย์ การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ และความมั่นคง
ปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาชญากรรมข้ามชาติ อีกทั้งประเด็นเหล่านี้ทวีความส าคัญมากขึ้นและ
เกี่ยวข้องกับประเทศเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดยแต่ละประเด็นจะเริ่มจากการวิเคราะห์สภาพปัญหา กลไก
รับมือปัญหาระดับชาติของไทย ความร่วมมือของอาเซียน ความร่วมมือทวิภาคีของไทย แนวปฏิบัติจาก
ต่างประเทศ จากนั้นเป็นส่วนสรุปและข้อเสนอแนะทางนโยบาย
ในบทที่ 1 ไทยกับความมั่นคงรูปแบบใหม่ของไทย เป็นบทน าชี้ให้เห็นว่า ไทยเผชิญกับภัยคุกคาม
ความมั่นคงรูปแบบใหม่ในหลายรูปแบบ เช่น ปัญหายาเสพติด ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โรคระบาด การค้ามนุษย์
การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ผลกระทบของปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ยังมีผลเป็น
วงกว้างตั้งแต่ระดับโลกจนถึงระดับประชาชน ตัวอย่างเช่น ปัญหายาเสพติดที่มีความสัมพันธ์กับปัญหา
ครอบครัว และภัยพิบัติทางธรรมชาติกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ส าคัญไทยเป็นประเทศที่เป็นทั้งต้นทาง
ทางผ่าน และปลายทางของภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่จะต้องอาศัยนโยบายและมาตรการรับมืออย่าง
มีประสิทธิภาพและรอบด้าน ภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ยังมีความสัมพันธ์อย่างซับซ้อนกับการก่อ
อาชญากรรมข้ามชาติ เครื่องมือหลักของไทยในเรื่องนี้ คือ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วน
ร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2556 ส่วนในระดับโลกมีเครื่องมือ คือ อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้าน
อาชญากรรมข้ามชาติของสหประชาชาติ (UNTOC) ประเทศไทยเพียงล าพังจึงไม่อาจแก้ไขปัญหาภัยคุกคาม
ความมั่นคงรูปแบบใหม่ได้เต็มความสามารถ เพราะต้องอาศัยความร่วมมือกับหุ้นส่วนต่างประเทศในการแก้ไข
ปัญหาร่วมกัน โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ผ่านมาไทยมีความร่วมมือด้านนี้ทั้งใน
ระดับทวิภาคีและพหุภาคี โดยเฉพาะกับความร่วมมือในฐานะชาติสมาชิกอาเซียน
การค้ามนุษย์ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของปัญหาอาชญากรรม ในบทที่ 2 ไทยกับการค้ามนุษย์ ไทยได้
ประกาศเป็น “วาระแห่งชาติ” และเปลี่ยนวิกฤตที่ไทยถูกลดอันดับการค้ามนุษย์ลงมาเป็นกลุ่มที่ 3 กลายเป็น
โอกาสที่ไทยจะเร่งสร้างระบบตามยุทธศาสตร์ต่อต้านการค้ามนุษย์ 5P (Policy (นโยบาย) Prosecution (การ
ด าเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย) Protection (การคุ้มครอง) Prevention (การป้องกัน) และ Partnership
(ความร่วมมือ) และได้รับการปรับอันดับขึ้นมาอยู่กลุ่มที่ 2 อย่างไรก็ตาม การค้ามนุษย์ยังเป็นงานเฉพาะกิจตาม
วาระแห่งชาติเพราะเป็นคณะขับเคลื่อนการท างานในเชิงนโยบายระดับชาติที่เรียกว่า คณะกรรมการป้องกัน
[ค]