Page 10 - kpiebook62002
P. 10

ยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหาได้ โดยควรมุ่งสร้าง “ระบอบการคุ้มครอง” หรือการป้องกันด้วยการแก้ไขปัญหาที่

               “สาเหตุพื้นฐาน” และวางกฎระเบียบการเคลื่อนย้ายขึ้นที่สอดคล้องทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค
                       นอกจากนี้ สภาวะของภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่จะสัมพันธ์กับการพัฒนาและการ

               เปลี่ยนแปลงของโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเป็นช่องทางใหม่ ๆ ในการก่อ

               อาชญากรรม ในบทที่ 4 ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างยิ่งในปัจจุบัน
               และต้องการการท าความเข้าใจเพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่ทวีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยไทยในฐานะ

               ประเทศที่ก าลังก้าวเป็นสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบต้องยกระดับขีดความสามารถในการรับมือกับภัยคุกคาม

               ทางไซเบอร์ทั้งการพัฒนายุทธศาสตร์และนโยบาย เช่น ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
               แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 และแผนยุทธศาสตร์กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2563-2567

               รวมถึงพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 อย่างไรก็ตาม ไทยยังจ าเป็นต้อง

               พัฒนาอีกหลายประการเพื่อยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้สูงยิ่งขึ้น ได้แก่ การสร้างความตระหนัก
               เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ

               ยกระดับการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการเพิ่มความร่วมมือกับหุ้นส่วนต่างประเทศทั้ง

               ในระดับทวิภาคีและพหุภาคี
                       ในขณะที่ความร่วมมือในระดับอาเซียนก็มีความท้าทายในลักษณะเดียวกันกับไทย อีกทั้งต้องท าให้

               เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งที่มีลักษณะไม่บังคับหรือขึ้นอยู่กับความสมัครใจของแต่ละชาติ แต่ละประเทศมี

               ความตระหนักต่อการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคม/การเมือง
               และโครงสร้างทางเศรษฐกิจ โดยสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีบทบาทน าในการผลักดันการสร้างความร่วมมือใน

               ระดับภูมิภาค บทเรียนจากประเทศหรือกลุ่มประเทศที่ประสบความส าเร็จและได้รับการยอมรับในด้านการ

               จัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างสิงคโปร์ เอสโตเนีย และสหภาพยุโรป จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการ
               พัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ตัวอย่างเช่น การจัดตั้ง Cyber Security Agency of Singapore (CSA)

               ขึ้นมาเป็นกลไกหลักในการประสานความร่วมมือและก าหนดทิศทางการพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

               แห่งชาติ กองทุน Tiger Leap (Tiigrihüpe) ของเอสโตเนีย  European Union for Network and
               Information Security (ENISA) ฯลฯ การเรียนรู้จากนโยบายและแนวทางของประเทศที่ประสบความส าเร็จ

               ด้านการจัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จึงเป็นประโยชน์ส าหรับไทยและอาเซียน ซึ่งสามารถประยุกต์ให้

               เข้ากับสถานะและสภาพแวดล้อมของประเทศ
                       การศึกษาภัยคุกคามเหล่านี้ สามารถเป็นส่วนส าคัญในการเสริมสร้างสมรรถนะในการรับมือภัยคุกคาม

               เหล่านี้ผ่านข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่จะสังเคราะห์ได้จากโครงการวิจัย ดังนี้

                   1.  ไทยควรใช้โอกาสการเป็นประธานอาเซียนแสดงบทบาทเชิงรุกในการขับเคลื่อนการจัดการปัญหา
               อาชญากรรมข้ามชาติ การค้ามนุษย์ การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ อาชญากรรมไซเบอร์ ให้เป็นประเด็นความร่วมมือ

               กันของอาเซียนโดยอาศัยกลไกความร่วมมือระดับทวิภาคีและระดับอาเซียนที่มีอยู่ ซึ่งอาเซียนเป็นเวทีภูมิภาคที่

               เอื้อต่อการปรับการท างานให้ใกล้เคียงกันมากขึ้น เพราะมีการประชุมที่บ่อยครั้งขึ้น อีกทั้งยังมีความร่วมมือกับ




                                                           [จ]
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15