Page 6 - kpiebook62002
P. 6

บทคัดย่อ



                       โครงการวิจัยเรื่อง “ไทยกับความมั่นคงรูปแบบใหม่: การค้ามนุษย์ การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ
               อาชญากรรมข้ามชาติ และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” มุ่งศึกษาการด าเนินการของไทยต่อความมั่นคง

               รูปแบบใหม่ด้วยการวิเคราะห์ความท้าทายทั้งในปัจจุบันและอนาคต ได้แก่ การค้ามนุษย์ การย้ายถิ่นแบบไม่

               ปกติ และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ การศึกษาและวิเคราะห์เริ่มจากสภาพ
               ปัญหา กลไกรับมือปัญหาระดับชาติของไทย ความร่วมมือของอาเซียน ความร่วมมือทวิภาคีของไทยกับ

               ต่างประเทศ แนวปฏิบัติจากต่างประเทศ ไปจนถึงข้อสรุปและข้อเสนอแนะ โดยพบว่า ภัยคุกคามความมั่นคง

               รูปแบบใหม่ที่ไทยเผชิญอยู่ต้องอาศัยนโยบายและมาตรการรับมืออย่างมีประสิทธิภาพและรอบด้าน อีกทั้งต้อง
               อาศัยความร่วมมือกับหุ้นส่วนต่างประเทศในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยเฉพาะในฐานะชาติสมาชิกอาเซียนซึ่ง

               มีพลวัตและความท้าทาย ส่วนการค้ามนุษย์กลายเป็นวาระแห่งชาติของไทย แต่ยังต้องพัฒนาให้กลไกในการ

               รับมือเปลี่ยนจากลักษณะ “เฉพาะกิจ” ตามวาระของรัฐบาลให้มีลักษณะเป็นสถาบันด้วยการจัดตั้ง
               “หน่วยงานถาวร” เพื่อสร้างสมรรถนะประเทศในอาเซียนตามแนวปฏิบัติส าหรับผู้ปฏิบัติงานของอาเซียนให้

               ยั่งยืน ส าหรับการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ ไทยต้องแสดงบทบาทที่แข็งขันขึ้นในการริเริ่ม “ระบอบการคุ้มครอง”

               ด้วยการพัฒนากลไกและเครื่องมือที่ไม่จ าเป็นต้องมีผลผูกพันทางกฎหมายอย่าง “ปฏิญญา” และ “แผนปฏิบัติ
               การ” แต่เพื่อให้เกิดค านิยามในการท างานที่ตรงกันและมีแนวทางที่เหมาะสมและยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหาที

               สอดคล้องกันทั้งในระดับประเทศและระดับอาเซียน ส่วนในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ไทยควรมุ่ง

               สร้างสมรรถนะด้วยการจัดตั้งกองทุนหรือหน่วยงานระดับชาติเพื่อพัฒนาผู้เชี่ยวชาญ สร้างความตระหนักรู้ใน
               เรื่องความปลอดภัยส่วนบุคคล และบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงการปรับให้ในอาเซียนมีทิศทาง

               เดียวกันบนพื้นฐานของค่านิยมสากล โดยไม่ได้มีลักษณะบังคับหรือเป็นไปตามความสมัครใจตามที่แต่ละ

               ประเทศมีเงื่อนไขและบริบทแตกต่างกัน ไทยควรใช้โอกาสการเป็นประธานอาเซียนแสดงบทบาทเชิงรุกในการ
               ขับเคลื่อนการจัดการความท้าทายจากความมั่นคงรูปแบบใหม่ให้เป็นประเด็นความร่วมมือกันของอาเซียนโดย

               อาศัยกลไกความร่วมมือระดับทวิภาคีและระดับอาเซียนที่มีอยู่ และอาศัยความร่วมมือกับคู่เจรจาภายนอกที่จะ

               มีบทบาทส าคัญต่อการช่วยไทยและอาเซียนพัฒนาในเรื่องนี้





















                                                           [ก]
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11