Page 9 - kpiebook62002
P. 9

และปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) และคณะกรรมการประสานและก ากับการด าเนินงานป้องกันและ

               ปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปกค.) และมีกฎหมายรองรับอย่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้า
               มนุษย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งอ านวยให้รัฐบาลไทยด าเนินคดีและบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพชัดเจน

                       ความร่วมมือของอาเซียนและความร่วมมือทวิภาคีถือว่ามีอยู่พร้อมแล้วโดยไทยได้พัฒนาตนเองเป็น

               “ศูนย์รวม” ความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์ และมีส่วนส าคัญในการพัฒนาสมรรถนะของประเทศ
               เพื่อนบ้านให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นตาม “แนวปฏิบัติส าหรับผู้ปฏิบัติงานของ

               อาเซียน ปี 2018” (ASEAN Practitioner Guidelines 2018) และ “รายงานความก้าวหน้าว่าด้วยการ

               ตอบสนองในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต่อการค้ามนุษย์ในภูมิภาคอาเซียน” (Progress Report on
               Criminal Justice Responses to Trafficking in Persons in the ASEAN Region) โดยอินโดนีเซียถือเป็น

               ตัวอย่างของแนวปฏิบัติจากต่างประเทศที่แสดงให้เห็นความพยายามปรับตัวบทกฎหมายและแนวปฏิบัติในการ

               แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจังและเจาะจงมากขึ้น ซึ่งท าให้อินโดนีเซียรักษาระดับอยู่ในกลุ่มที่ 2 คงที่ได้
               เป็นเวลาหลายปี ไทยต้องหันมามุ่งสร้างระบบที่ยั่งยืนและบูรณาการการท างานระหว่างหน่วยงานของรัฐที่

               เกี่ยวข้องทั้งหมดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อให้เป็นเจ้าภาพทางทางวิชาการโดยเริ่มต้น

               จากการเป็นหน่วยงานขนาดเล็กที่มุ่งสร้างสมรรถนะก่อน เช่น การจัดตั้งส านักงานคณะกรรมการป้องกันและ
               ปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปปม.) เพื่อผลักดันให้ไทยมีบทบาทในการสร้างการท างานร่วมกันในระดับภูมิภาค

               อาเซียนต่อไปซึ่งจะช่วยให้แก้ไขปัญหาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านตั้งแต่ต้นทางและครบวงจร

                       ในบทที่ 3 ไทยกับการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ ถือเป็นอีกด้านหนึ่งของปัญหาที่พัวพันกับการค้ามนุษย์
               โดยความท้าทายหลักที่ไทยเผชิญอยู่ คือ การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ ซึ่งเข้ามาโดยวิธีการหรือเส้นทางการย้ายถิ่น

               อย่างไม่ปกติ อีกทั้งเป็นการย้ายถิ่นแบบผสม (mixed migration) ยังผสมกันทั้งผู้ที่ย้ายถิ่นด้วยเหตุผลทาง

               เศรษฐกิจและผู้ที่แสวงหาโอกาสในชีวิตซึ่งอาจกลายเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์หรือร่วมไปกับขบวนการลักลอบขน
               ย้ายคน กลไกรับมือปัญหาระดับชาติของไทยยังมีลักษณะที่เป็น “ระบอบการป้องกัน” (prevention regime)

               มากกว่าเป็น “ระบอบการคุ้มครอง” (protection regime) และยึดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.

               2522 (ค.ศ. 1979) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ไม่ยืดหยุ่นเพียงพอต่อสภาพปัญหาในปัจจุบัน ส่วน “ยุทธศาสตร์
               แก้ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบ” จ าเป็นต้องออกระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีรองรับเพื่อให้หน่วยงาน

               ภาครัฐต่าง ๆ น าไปปฏิบัติ

                       ความร่วมมือของอาเซียนเริ่มพัฒนาขึ้นในปี 2015 หลังจากเผชิญกับวิกฤตผู้ย้ายถิ่นชาวโรฮิงญา หัวใจ
               ส าคัญจึงอยู่ที่การปรับจากลักษณะเฉพาะกิจไปสู่การสร้างกลไกที่ดึงประเทศที่เกี่ยวข้องทั้งต้นทางปลายทางเข้า

               มาร่วมแก้ไขปัญหาโดยอาเซียนเป็นแกนหลัก ซึ่งอย่างน้อยที่สุดอาจเริ่มที่การใช้กลไกอย่างส านักเลขาธิการ

               อาเซียน และศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ (AHA
               Centre) เข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา ดังมีแนวปฏิบัติที่ดีในกรณีลาตินอเมริกาจากกรณีปัญหาย้ายถิ่นชาวโคลอมเบีย

               จ านวนกว่า 3 ล้านคน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สามารถใช้กลไกและเครื่องมือที่ไม่ได้มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่าง

               “ปฏิญญา” และ “แผนปฏิบัติการ” เพื่อพัฒนาค านิยามในการท างานที่ตรงกันและมีแนวทางที่เหมาะสมและ




                                                           [ง]
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14