Page 67 - 30423_Fulltext
P. 67

61



                       ความสัมพันธ์อย่างมีระเบียบแบบแผน ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้นักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวง
                       กีฬาต้องท ากิจกรรมของตนเองหรือประกอบอาชีพของตนให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณของอาชีพใน

                       ธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬา แล้วการท ากิจกรรมหรือประกอบอาชีพของบุคคลเช่นว่านี้ล้วนแล้วแต่จะต้อง

                       มีเกณฑ์ในการท ากิจกรรมหรือประกอบอาชีพเพื่อสร้างมาตรฐานให้นักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน
                       แวดวงกีฬาอื่น ๆ มีความเป็นมืออาชีพทางการกีฬา (Sports Professionalism) มากยิ่งขึ้นไปกว่าแต่

                          6
                       เดิม  เหตุนี้เองในประเทศอังกฤษจึงได้พัฒนาระบบการปกครองกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาควบคู่ไปกับ
                       การสร้างระบบก ากับธรรมาภิบาลกีฬาในแต่ละชนิดกีฬา เพื่อให้การปกครองกีฬาและเกณฑ์ธรรมาภิ
                       บาลกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาเป็นเครื่องมือควบคุมให้นักกีฬาละเล่นกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวง

                       กีฬาด าเนินกิจกรรมกีฬาอย่างเป็นมืออาชีพและประกอบอาชีพให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งอาชีพ

                       ในขณะเดียวกันองค์กรก ากับกีฬาอาจสร้างกลไกวิธีการก ากับธรรมาภิบาลหรือออกค าสั่งหรือ
                       กฎระเบียบควบคุมการละเล่นกีฬาหรือการด าเนินกิจกรรมให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งความเป็น

                       มืออาชีพทางการกีฬา เช่น การขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การสั่งพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอน

                       ใบอนุญาต และการรับรองวิทยฐานะ ซึ่งการก ากับธรรมาภิบาลขององค์กรก ากับกีฬามักด าเนินการใน
                                                        7
                       รูปคณะกรรมการ (Board of Control)  ที่มีอ านาจตามกฎระเบียบจัดตั้งองค์กรก ากับกีฬา แต่ทว่า
                       หากองค์กรก ากับกีฬาออกค าสั่งหรือกฎระเบียบไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยกฎระเบียบหรือค าสั่งมี

                       ลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมหรือมีลักษณะที่เป็นการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของ
                       นักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ เช่นว่านี้นักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องย่อม เกิดข้อ

                       พิพาทระหว่างองค์กรก ากับกีฬากับนักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ เมื่อเกิดข้อพิพาทหรือคดี

                       ทางการกีฬา (sports law cases) เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ ระบบกฎหมายจารีตประเพณีหรือ
                                                                       8
                       ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law System)  ของประเทศอังกฤษจึงเข้ามามีบทบาท
                       ส าคัญในการสร้างแนวค าพิพากษาของศาลยุติธรรมที่ศาลยุติธรรมในคดีก่อน ๆ ได้เคยพิพากษาวาง

                       แนวทางเอาไว้ (Judge made law) คดีที่ศาลยุติธรรมได้เคยตัดสินไปแล้วก็ย่อมกลายมาเป็นบรรทัด
                       ฐานที่ยอมรับนับถือกันทั่วไปและศาลยุติธรรมที่ตัดสินในคดีต่อ ๆ มาจะต้องด าเนินรอยตามค า

                       พิพากษาศาลยุติธรรมในคดีก่อน ๆ ที่ได้เคยวินิจฉัยเอาไว้เป็นบรรทัดฐานหรือเป็นแบบอย่าง

                       (Precedent) นั้นหมายความว่าศาลยุติธรรมอังกฤษเองต้องพิจารณาพิพากษาคดีให้สอดคล้องและ



                       6  Wray Vamplew, “Playing with the rules: Influences on the development of regulation in sport,”
                       International Journal of the History of Sport 24, no.7 (2007): 843-871.
                       7  Richard Tacon, “Sport policy and the structure of sport in the UK,” In Managing Sport Business: An

                                     nd
                       Introduction, ed. 2  (London: Routledge & CRC Press, 2018): 58-77.
                       8  Matthew J. Mitten and Hayden Opie, “"Sports Law": Implications for the development of

                       international, comparative, and national law and global dispute resolution,” Tulane Law Review 85,
                       no.2 (2010): 269-322.
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72