Page 62 - 30423_Fulltext
P. 62
บทที่ 3
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศ
งานวิจัยฉบับนี้ มุ่งท าการศึกษา ทบทวนและวิเคราะห์ในลักษณะการวิจัยเชิงเอกสาร
(Documentary Research) โดยศึกษาทบทวนแนวความคิดพื้นฐานว่าด้วยกฎหมายกีฬาของประเทศ
ไทยและกฎหมายกีฬาต่างประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เพื่อน ามาวิเคราะห์ในเชิง
กฎหมายกีฬาเปรียบเทียบ (Comparative Sports Law) ว่ากฎหมายกีฬาของประเทศไทยมีปัญหา
ทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเกี่ยวกับนักกีฬาและการเสริมสร้างธรรมาภิบาลกีฬาอย่างไรบ้าง อันจะ
น าไปสู่การปรับปรุงข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เกื้อกูลต่อการสนับสนุนการกีฬาเพื่อไปสู่ระดับ
ความเป็นเลิศและพัฒนากีฬาอาชีพที่ยั่งยืน การศึกษา 3 ประเทศ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
3.1 กฎหมายอังกฤษ
การศึกษาวิจัยฉบับนี้ได้หยิบยกกฎหมายกีฬาในประเทศอังกฤษ (Sports Law in England)
มาท าการศึกษาวิเคราะห์ เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะกฎหมายกีฬาของประเทศอังกฤษส่วนหนึ่งได้มี
พัฒนาการมาจากกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) (หรือเรียกกันว่า ระบบกฎหมายจารีต
ประเพณี) ในลักษณะที่ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมอังกฤษได้อ้างอิงหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ
สิทธิเสรีภาพของนักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา แล้วน าหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาปรับใช้
เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของนักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา ในขณะเดียวกัน
องค์กรก ากับกีฬาในประเทศอังกฤษได้ยอมรับนับถือค าพิพากษาของศาลยุติธรรมอังกฤษและได้
ยอมรับเป็นบรรทัดฐานเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของนักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา ดัง
เคยปรากฏไว้ในคดีส าคัญที่ศาลยุติธรรมอังกฤษได้วินิจฉัยวางหลักเกณฑ์รับรองสิทธิและคุ้มครอง
เสรีภาพของนักกีฬา เช่น คดี Eastham v Newcastle United Football Club Ltd [1964] Ch
413 เป็นต้น
อีกประการหนึ่งกฎหมายคอมมอนลอว์ยังได้พัฒนาหลักเกณฑ์ทางกฎหมายเอกชนมาก าหนด
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาในฐานะที่เป็นเอกชนกับเอกชนด้วยกัน ในฐานะ
ที่เป็นเอกชนกับเอกชนที่เท่าเทียมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักกฎหมายละเมิดอังกฤษที่วางหลักความ