Page 63 - 30423_Fulltext
P. 63
57
รับผิดเพื่อละเมิดในทางแพ่งอันถูกวิวัฒนาการและก าหนดขึ้นมาส าหรับคุ้มครองสิทธิระหว่างผู้มีส่วน
ได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาในฐานะที่เป็นเอกชนกับเอกชนด้วยกัน หากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา
อันเป็นเอกชนรายหนึ่งไปกระท าต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาอันเป็นเอกชนอีกรายหนึ่ง จน
ส่งผลให้เอกชนอีกรายหนึ่งนี้ได้รับความเสียหายในทางหนึ่งทางใดนั้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา
ที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นย่อมต้องรับผิดในทางแพ่ง เช่น คดี Watson v British Boxing Board of
Control [2001] [2000] EWCA Civ 2116, [2001] QB 1134, [2001] PIQR 16 เป็นต้น
นอกจากนี้รัฐสภาอังกฤษได้ตรากฎหมายลายลักษณ์อักษร (Statutory Law) อันเป็น
บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่รวมเอากฎเกณฑ์ที่ก าหนดความประพฤติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวง
กีฬา (แวดวงกีฬาทั่วไปหรือแวดวงแต่ละชนิดกีฬา) ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องปฏิบัติตาม เพราะหาก
ไม่ปฏิบัติตามแล้วก็จะได้รับโทษที่เป็นสภาพบังคับโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นต ารวจ
ทางปกครองหรือต ารวจทางยุติธรรมจะบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งมีกระบวนการบังคับให้เป็นไปตาม
กฎหมายลายลักษณ์อักษรดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการทางอาญาหรือกระบวนการทางปกครอง
กฎหมายลายลักษณ์อักษรเช่นว่านี้อาจประกอบด้วย ฝ่ายปกครองจะออกกฎหมายล าดับรอง
(Statutory Instruments หรือ SI) ได้ภายใต้อ านาจของกฎหมายลายลักษณ์อักษรแม่บทเพื่อ
ด าเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายลายลักษณ์อักษรแม่บทนั้น ๆ ตัวอย่างกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มี
ผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น กฎหมาย Sporting Events (Control of Alcohol etc.) Act 1985
กฎหมาย Football Spectators Act 1989 และกฎหมาย Football (Offences) Act 1991 เป็นต้น
นอกจากนี้ กฎหมายที่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อก าหนดกฎเกณฑ์ กติกา หรือ
มาตรฐานในวงการกีฬาอังกฤษให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและใช้เป็นเครื่องมือสร้างความสงบ
เรียบร้อยในการอยู่ร่วมกันในวงการกีฬาหรือการแข่งขันกีฬา ยังอาจมีเนื้อความบังคับควบคุมความ
ประพฤติของผู้เข้ามามีส่วนร่วมในสังคมกีฬาหรือการแข่งขันกีฬา (sports participants) ซึ่งผู้เข้ามามี
ส่วนร่วมในสังคมกีฬาหรือการแข่งขันกีฬาจะต้องปฏิบัติตามหรือควรจะปฏิบัติตาม ซึ่งการที่กฎหมาย
ได้ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรเช่นว่านี้สอดคล้องกันกับการก าหนดให้องค์กรก ากับกีฬาหรือ SGBs
ทั้งที่เป็นองค์กรก ากับกีฬาภายในประเทศ (National Governing Bodies หรือ NGBs) หรือองค์กร
ก ากับกีฬาระหว่างประเทศ (International Governing Bodies หรือ IGBs) ที่มีหน้าที่ก ากับกีฬาใน
แต่ละชนิดกีฬาหรือมีบทบาทควบคุมมาตรฐานการแข่งขันกีฬาในแต่ละชนิดกีฬา ต้องส่งเสริม
สนับสนุนให้องค์กรก ากับกีฬา สโมสรกีฬา นักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้การก ากับ
ควบคุมของตน (ภายใต้โครงสร้างความสัมพันธ์ในการปกครองชนิดกีฬาหรือการแข่งขันกีฬาแบบ
ล าดับชั้นพีระมิด) ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศอังกฤษอย่างเคร่งครัด หากองค์กรก ากับกีฬา
สโมสรกีฬา นักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้การก ากับควบคุมของตนฝ่าฝืนหรือไม่
ปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมืองแล้ว ไม่เพียงต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติเอาไว้เท่านั้น หากแต่