Page 70 - 30423_Fulltext
P. 70

64



                       ธรรมในการจ้างงานนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ เหตุนี้เองศาลยุติธรรมอังกฤษจึงพิจารณาว่ากฎระเบียบที่
                       น าไปสู่การสร้างข้อตกลงทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมและสั่งให้ข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมนั้นมีผลใช้บังคับ

                       เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องสิทธิของนักกีฬาฟุตบอลอาชีพในการมองหา

                       การจ้างงาน (player's right to seek employment) ในตลาดแรงงานภาคอุตสาหกรรมกีฬาฟุตบอล
                           9
                       อาชีพ

                              จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าศาลอังกฤษได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่าข้อจ ากัดทางการค้า

                       ดังกล่าวเป็นธรรมต่อนักกีฬาอาชีพหรือไม่ ข้อตกลงดังกล่าวเหมาะสมต่อนักกีฬาอาชีพเพียงใด โดย
                       ศาลได้ท าการวินิจฉัยในเรื่องของข้อตกลงหรือข้อจ ากัดในสัญญาอันเนื่องมาจากการปฏิบัติตาม

                       กฎระเบียบขององค์กรก ากับกีฬา (สมาคมกีฬาฟุตบอลอังกฤษ) อันเป็นการกระทบสิทธิเสรีภาพของ

                       นักกีฬาอาชีพ ในทางตรงกันข้ามศาลยุติธรรมอังกฤษจะใช้อ านาจทบทวนความชอบด้วยกฎหมายของ
                       ค าสั่งหรือกฎที่ออกโดยองค์กรก ากับกีฬาได้หรือไม่นั้น ก็ต่อเมื่อค าสั่งหรือกฎดังกล่าวต้องเป็นค าสั่ง

                       หรือกฎที่ออกโดยองค์กรก ากับกีฬาอันเป็นหน่วยงานรัฐ (public body) ที่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตาม

                       กฎหมายมหาชน (public legal personality) เท่านั้น และมีกฎหมายมหาชนให้อ านาจ (statutory
                       powers) ในการออกค าสั่งหรือกฎมาเพื่อควบคุมก ากับนักกีฬาหรือองค์กรก ากับกีฬาล าดับชั้นต ่ากว่า

                       แต่ถ้าองค์กรก ากับกีฬาอันเป็นหน่วยงานเอกชน (private body) ที่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตาม

                       กฎหมายเอกชน (private legal personality) ศาลยุติธรรมอังกฤษไม่อาจก้าวล่วงไปพิจารณา
                       ทบทวนค าสั่งหรือกฎที่ออกไปโดยเห็นว่าค าสั่งหรือกฎนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่สามารถ

                       พิจารณาได้ว่าการกระท าขององค์กรก ากับกีฬาเป็นการกระท าที่เกินไปกว่าขอบอ านาจหน้าที่หรือขอบ
                       วัตถุประสงค์ของกฎหมายมหาชนที่ให้อ านาจองค์กรก ากับกีฬาดังกล่าวหรือไม่ (ultra vires)

                       ตัวอย่างเช่นคดี R v Football Association Ltd ex parte Football League [1993] และคดี R. v.

                       Disciplinary Committee of the Jockey Club ex p. the Aga Khan [1993] 1 WLR 909 ที่ศาล
                       ยุติธรรมอังกฤษวินิจฉัยไปในแนวทางเดียวกันว่าคณะกรรมการวินัยของชมรมขี่ม้าอังกฤษและสมาคม

                       กีฬาฟุตบอลอังกฤษถือเป็นองค์กรก ากับกีฬาอันเป็นหน่วยงานเอกชน ที่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตาม

                       กฎหมายเอกชน ศาลยุติธรรมอังกฤษไม่อาจก้าวล่วงไปพิจารณาทบทวนค าสั่งหรือกฎที่ออกไปโดยเห็น
                       ว่าค าสั่งหรือกฎนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการออกค าสั่งหรือกฎของนิติบุคคลตามกฎหมาย

                                                                                           10
                       เอกชนดังกล่าวไม่ได้มีกฎหมายให้อ านาจในการออกค าสั่งหรือกฎดังกล่าวแต่อย่างใด  เป็นต้น







                       9  J Paul McCutcheon, “Negative enforcement of employment contracts in the sports industries,”
                       Legal Studies 17, no.1 (1997): 65-100.

                       10  Sarah Elison and Matthew Lohn., “Whose Rules are we playing by?,” The Entertainment and Sports
                       Law Journal 3, no.2 (2005): 5.
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75