Page 71 - 30423_Fulltext
P. 71

65



                              อีกประการหนึ่งศาลยุติธรรมอังกฤษยังได้เคยวินิจฉัยตีความและพิจารณาพิพากษาให้
                       ผู้กระท าผิดได้รับโทษตามกฎหมายลายลักษณ์อักษร โดยเฉพาะกฎหมายอาญาทางกีฬา (Criminal

                       Sports Law) เช่น กฎหมาย Sporting Events (Control of Alcohol etc.) Act 1985 กฎหมาย

                       Football Spectators Act 1989 และกฎหมาย Football (Offences) Act 1991 ที่บัญญัติว่าการ
                       กระท าใดที่ถือว่าเป็นความผิดเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมก าหนดบทลงโทษทางอาญาส าหรับ

                       ผู้กระท าความผิดเกี่ยวกับกีฬา (criminal sanctions in sport) เอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ปรับ

                       กักขัง และจ าคุก เป็นต้น

                              3.1.2 การจำแนกกฎหมายกีฬาอังกฤษ


                              เมื่อพิจารณาตามเนื้อความและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐและเอกชน ก็จะพบ

                       ได้ว่ากฎหมายกีฬาอังกฤษสามารถจ าแนกได้เป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

                              3.1.2.1 กฎหมายเอกชนทางกีฬา

                              กฎหมายเอกชนทางกีฬา (Sport Private Law) ได้แก่ กฎหมายที่ก าหนดความสัมพันธ์ระหว่าง

                       ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละชนิดกีฬาหรือในธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาที่เป็นเอกชนกับเอกชนด้วยกัน โดย

                       ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันเพราะเป็นเรื่อง
                       ของกฎหมายที่ก าหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกันในฐานะเท่าเทียมกัน


                              3.1.2.2 กฎหมายมหาชนทางกีฬา

                              กฎหมายมหาชนทางกีฬา (Sport Public Law) ได้แก่ กฎหมายที่ก าหนดความสัมพันธ์

                       ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาที่ฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐ หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มี

                       อ านาจเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่งที่เป็นเป็นเอกชน โดยรัฐ หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมมีเอก
                       สิทธิ์ตามกฎหมายมหาชนที่จะด าเนินการหรือท ากิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะทางการกีฬา พร้อม

                       กับมีเอกสิทธิ์อยู่เหนือบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนที่จะบังคับให้บุคคลธรรมดา

                       หรือนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนปฏิบัติตามค าสั่งของตนได้เอง เช่น การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อ านาจ
                       ตามกฎหมาย Football Spectators Act 1989 ออกค าสั่งห้ามร่วมกิจกรรมการแข่งขันกีฬาฟุตบอล

                       (Football Banning Order หรือ ค าสั่ง FBO) เพื่อห้ามผู้ชมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลที่มีพฤติกรรม

                       อันธพาลนักเลงหัวไม้ (football hooliganism) ร่วมกิจกรรมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลภายใน
                       ระยะเวลาที่กฎหมายก าหนดเอาไว้ เป็นต้น


                              3.1.2.3 กฎหมายระหว่างประเทศทางกีฬา

                              กฎหมายระหว่างประเทศทางกีฬา (International Sport Law) ได้แก่ กฎหมายที่ก าหนด

                       ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในลักษณะที่เป็นข้อตกลงหรือสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยกีฬา
                       และการกีฬา รวมทั้งกฎหมายที่ก าหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรก ากับกีฬาภายในประเทศและ
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76