Page 24 - 30423_Fulltext
P. 24
18
ตลาดแรงงานทั่วไป จึงควรให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานทางด้านการกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาคม
กีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ในการออกกฎระเบียบมาเพื่อควบคุมการประกอบธุรกิจของเอเย่นต์
ในระบบกีฬาอาชีพของประเทศไทย ส าหรับมาตรการในการควบคุมการประกอบธุรกิจของเอเย่นต์
นักกีฬาฟุตบอลอาชีพที่เหมาะสมกับประเทศไทยในขณะนี้ ควรเป็นการควบคุมธุรกรรมระหว่างสโมสร
กับนักกีฬาฟุตบอลที่มีการใช้บริการของเอเย่นต์ ไม่ว่าจะเป็นเอเย่นต์ที่ได้รับใบรับรองจากสมาคมกีฬา
ฟุตบอลแห่งประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม ซึ่งจะสอดคล้องกับบริบทของวงการกีฬาฟุตบอลอาชีพไทยที่ยัง
นิยมใช้บุคคลที่ไม่ใช่เอเย่นต์ที่ได้รับการรับรองจากสมาคมฯเข้ามาช่วยในการติดต่อและเจรจาสัญญา
ผ่านทางการก าหนดให้เป็นหน้าที่ของสโมสรฟุตบอลอาชีพที่มีการเจรจาสัญญาจ้าง หรือสัญญา
โอนย้ายโดยใช้บริการของเอเย่นต์ ไม่ว่าเอเย่นต์นั้นจะท างานให้แก่สโมสร หรือให้แก่นักกีฬาฟุตบอล
ต้องรายงานรายละเอียดตลอดจนส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับนิติกรรมดังกล่าวต่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบ
อาทิ ผู้จัดการแข่งขัน เพื่อให้สามารถตรวจสอบรายละเอียดของสัญญาต่างๆ ที่เอเย่นต์นั้นเข้าไปมีส่วน
เกี่ยวข้องได้
17
ในประเด็นการระงับข้อพิพาททางการกีฬา มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับกีฬาฟุตบอลไทย โดยศึกษา
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษสโมสรฟุตบอลโดยสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย พบว่า
ในการแข่งขันลีกฟุตบอลภายในประเทศไทย สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยได้ตราข้อบังคับ
ลักษณะการปกครอง สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2560 มี
เนื้อหาส่วนหนึ่งเพื่อควบคุมให้การแข่งขันลีกฟุตบอลเป็นไปอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยและมี
มาตรฐานสอดคล้องกับธรรมนูญสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ รวมถึงก าหนดบทลงโทษส าหรับสโมสร
ฟุตบอลที่กระท าความผิดข้อบังคับในกรณีต่างๆ เมื่อเกิดกรณีที่สโมสรฟุตบอลใดถูกกล่าวหาว่าได้
กระท าความผิดตามข้อบังคับดังกล่าวและต่อมาสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยได้มีค าสั่งลงโทษ
แก่สโมสรฟุตบอลนั้น ย่อมท าให้สโมสรฟุตบอลดังกล่าวได้รับความเสียหายหากถูกค าสั่งลงโทษที่มี
ความร้ายแรง เช่น ปรับเงิน ปรับแพ้ หรือ ริบเงินรางวัล เป็นต้น ส่งผลให้สโมสรพยายามค้นหา
ช่องทางต่างๆ เพื่อลบล้างค าสั่งลงโทษ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าสโมสรฟุตบอลมักจะน าค าสั่งลงโทษของ
สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยไปยื่นฟ้องต่อศาลภายในประเทศ ทั้งต่อศาลยุติธรรม และศาล
ปกครอง เพื่อให้มีค าสั่งเพิกถอนค าสั่งลงโทษ
18
ในการก ากับกีฬาฟุตอลระหว่างประเทศนั้น การที่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยได้
เข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) ท าให้สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยมี
หน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่ธรรมนูญสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติก าหนด ซึ่งบทบัญญัติของธรรมนูญสหพันธ์
17 ชิดชนก ไชยเจริญ, “สถานะทางกฎหมายของเอเย่นต์นักกีฬาฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย,” (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต, สาขากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557).
18 ปองภพ นิลนพรัตน์, “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษสโมสรฟุตบอลโดยสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศ
ไทย,” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).