Page 19 - 30423_Fulltext
P. 19

13



                       ท างานของนักกีฬาอาชีพแล้ว พบว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากงานของนักกีฬาอาชีพนั้นมี

                       ลักษณะเฉพาะในหลายๆ ด้านซึ่งแตกต่างจากลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานทั่วไป สุดท้ายผู้วิจัยได้
                       เสนอแนะแนวทางแก้ไขโดยน ากฎหมายของประเทศอังกฤษมาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบเพื่อหาแนว

                       ทางแก้ไขที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพทางข้อเท็จจริงของประเทศไทย และมีการเสนอร่าง

                       กฎกระทรวงเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาส าหรับการออกกฎหมายมาบังคับใช้ต่อไป โดยมี
                       ข้อเสนอแนะ 2 ประการคือ ประการที่ 1 รูปแบบของกฎหมายคุ้มครองลูกจ้างซึ่งเป็นนักกีฬาอาชีพ

                       ของประเทศไทยจากการศึกษาพบแนวทางเพื่อเพิ่มการคุ้มครองแรงงานให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นนักกีฬา

                       อาชีพ โดยสามารถพิจารณารูปแบบที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองลูกจ้างตามกฎหมายที่ใช้
                       บังคับอยู่ในปัจจุบัน โดยให้หน่วยงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอ านาจหน้าที่ในการบังคับการตาม

                       กฎหมายแรงงานมีค าสั่งให้นายจ้างปฏิบัติการตามกฎหมายแรงงานต่างๆ เช่น พนักงานตรวจแรงงาน

                       พนักงานเจ้าหน้าที่ของกองทุนเงินทดแทนและส านักงานประกันสังคม เป็นต้น หรืออาจเพิ่มความ
                       คุ้มครองโดยการตราเป็นกฎกระทรวง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โดยอาศัย

                       อ านาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ออก

                       กฎกระทรวงให้มีการคุ้มครองแรงงานแตกต่างไปจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 ได้
                       ตามอ านาจของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น หรืออาจจะท าโดยการตรากฎหมายใหม่เป็นพระราชบัญญัติ

                       คุ้มครองนักกีฬาอาชีพโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการคุ้มครองการท างานของนักกีฬาอาชีพได้อย่างเหมาะสม

                       และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประการที่ 2 หลักการส าคัญที่ควรก าหนดไว้ในกฎหมายคุ้มครองลูกจ้าง
                       ซึ่งเป็นนักกีฬาอาชีพจากการศึกษาพบว่าหลักการส าคัญที่ควรก าหนดเพิ่มเติมเพื่อคุ้มครองลูกจ้างซึ่ง

                       เป็นนักกีฬาอาชีพนั้น มีดังนี้ ก าหนดถึงค านิยามงานของนักกีฬาอาชีพที่จะได้รับความคุ้มครองตาม

                       กฎหมายคุ้มครองแรงงาน จัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองนักกีฬาอาชีพเพื่อบังคับการตามกฎหมาย
                       ก าหนดหน้าที่ให้นายจ้างท าสัญญาจ้างเป็นหนังสือและก าหนดโทษในกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตาม

                       ก าหนดในเรื่องการคุ้มครองระยะเวลาการท างานของนักกีฬาอาชีพ การคุ้มครองนักกีฬาฝึกงาน การ

                       คุ้มครองกรณีนักกีฬาอาชีพประสบอันตรายหรือบาดเจ็บเนื่องจากการท างานการคุ้มครองเกี่ยวกับการ
                       ท าสัญญาจ ากัดการประกอบอาชีพของนักกีฬา และการระงับข้อพิพาทในวงการกีฬา เป็นต้น
                                                                                                  11

                               ในการคุ้มครองสวัสดิการนักกีฬาอาชีพ ก็มีนักวิจัยที่ลงไปศึกษากรณีของนักกีฬาฟุตบอล
                       เอาไว้ พบว่า เมื่อมีการท าสัญญาจ้างระหว่างสโมสรกับนักกีฬาเพื่อให้เป็นกีฬาอาชีพดังเช่นในปัจจุบัน

                       นี้ ท าให้ต้องมีการศึกษาถึงสถานะทางกฎหมายของสัญญาจ้างระหว่างสโมสรกับนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ

                       ว่ามีสถานะทางกฎหมายเป็นอย่างไร ระหว่างสัญญาจ้างแรงงานสัญญาจ้างท าของ หรือเป็นสัญญาไม่
                       มีชื่อ ซึ่งผลการศึกษาพบว่าสัญญาจ้างนักกีฬาฟุตบอลอาชีพเป็นสัญญาจ้างไม่มีชื่อ ที่คู่สัญญามีอิสระ

                       ในการก าหนดข้อตกลงได้เท่าที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และปรับ


                       11  สุนาฏ หาญเพียรพงศ์, “กฎหมายคุ้มครองนักกีฬาอาชีพ” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขานิติศาสตร์
                       คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550).
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24