Page 21 - 30423_Fulltext
P. 21
15
เป็นการลงโทษพฤติกรรมการเล่นพนัน หรือโกงการพนัน ไม่ได้ลงโทษพฤติกรรมการล้มกีฬา ดังนั้นจึง
ควรบัญญัติกฎหมายลงโทษการล้มกีฬาโดยมิได้ให้หรือรับสินบนที่มีเจตนาเพื่อแสวงหาประโยชน์จาก
การพนัน
13
กฎหมายกีฬาเฉพาะประเภทกีฬา
ในงานวิจัยทางกฎหมายกีฬาเฉพาะประเภทกีฬานี้ งานวิจัยจ านวนมากศึกษาไปที่กีฬา
ประเภทฟุตบอล ทั้งในมุมของเครื่องหมายการค้าของสโมสรฟุตบอล สถานะของกฎหมายระหว่าง
ประเทศในการก ากับกีฬาฟุตบอล สัญญานักกีฬาฟุตบอลอาชีพ สถานะทางกฎหมายของเอเย่นต์
นักกีฬาฟุตบอลอาชีพ การระงับข้อพิพาททางการกีฬา การแข่งขันทางการค้า นอกจากกีฬาฟุตบอล
แล้ว กีฬามวยก็มีคนศึกษาเช่นเดียวกัน ดังมีรายละเอียดดังนี้
การศึกษากฎหมายในขอบข่ายของกีฬายังครอบคลุมไปถึงประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทาง
ปัญญาในเครื่องหมายการค้าของสโมสรฟุตบอลในอาเซียน โดยพบว่า ปัญหาการละเมิดเครื่องหมาย
การค้าในเสื้อสโมสรกีฬาฟุตบอลท าให้เป็นอุปสรรคและขัดต่อเจตนารมณ์ในการรวมตัวของประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียนเพื่อใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นแนวทางต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
สูงขึ้น เพราะฉะนั้นประเทศสมาชิกควรมีการแก้ไขปัญหาของความแตกต่างกันด้านกฎหมายทรัพย์สิน
ทางปัญญาประเภทเครื่องหมายการค้าที่ให้ความคุ้มครอง โดยมีการจดทะเบียนที่มีผลในการให้ความ
คุ้มครองจากการจดทะเบียนในประเทศหนึ่งประเทศใดในอาเซียนแล้วมีผลไปยังทุกประเทศใน
อาเซียน เจ้าของเครื่องหมายการค้าจึงมีความจ าเป็นต้องจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองสิทธิใน
ประเทศต่างๆ ก่อนส่งสินค้าไปจ าหน่ายเนื่องจากการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในปัจจุบันจะมีผล
ผูกพันเฉพาะประเทศที่จดทะเบียนเท่านั้น และมิให้ผู้ที่มิได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าน า
เครื่องหมายการค้าของตนไปจดทะเบียนในต่างประเทศ โดยผู้วิจัยเองได้เสนอทางออกของปัญหา
ดังกล่าวไว้น่าสนใจว่า ควรศึกษาการเข้าเป็นภาคีของพิธีสารกรุงมาดริด โดยยื่นค าขอเพียงค าขอเดียว
ใช้เพียงภาษาเดียวเพื่อขอรับความคุ้มครองในประเทศต่างๆ ได้หลายประเทศ ในคราวเดียวกันและ
เสียค่าธรรมเนียมเพียงครั้งเดียว ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายภายใน หรือมีกฎเกณฑ์ที่จ าเป็นร่วมกันเพื่อ
เตรียมพร้อมรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันควรป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ตลอดจนควรมีการด าเนินกระบวนการพิจารณาผ่านอนุญาโตตุลาการด้านทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกัน
เพื่อความสะดวก รวดเร็วและประนีประนอม
14
13 ภรณี ตัณฑชุณหม์, “ความเหมาะสมในการก าหนดความผิดทางอาญา: ศึกษาปัญหาการล้มกีฬาตามกฎหมาย
ไทย,” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขากฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557).
14 วลัยวรรณ มธุรสปรีชากุล, ชนวัฒน์ สรรพสิทธิ์, และ อลงกร น าบุญจิตต์, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง
มาตรการทางกฎหมายกีฬาอาชีพระหว่างประเทศในอาเซียน: กรณีศึกษาฟุตบอลอาชีพ, (เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่
ฟ้าหลวง, 2557).