Page 20 - 30423_Fulltext
P. 20

14



                       ใช้กฎหมายตามหลักกฎหมายสัญญาทั่วไป นอกจากการศึกษาสัญญาจ้างงานแล้ว ยังศึกษาถึง

                       สวัสดิการของนักกีฬาฟุตบอลอาชีพตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติ
                       ส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ.2556 เพื่อใช้เป็นกฎหมายที่จะส่งเสริมกีฬาอาชีพของประเทศไทยให้มี

                       มาตรฐานเดียวกันกับนานาประเทศ รวมไปถึงมาตรฐานสัญญาจ้างนักกีฬาฟุตบอลอาชีพและสิทธิ

                       ประโยชน์อื่นๆที่นักกีฬาฟุตบอลอาชีพพึงได้รับ ดังนั้นผู้วิจัยเสนอแนะว่าสัญญาจ้างนักกีฬาฟุตบอล
                       อาชีพในประเทศไทยควรมีการก าหนดสัญญาในรูปแบบสัญญามาตรฐานไว้ในระเบียบข้อบังคับว่าด้วย

                       การจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพเพื่อก าหนดให้มีสวัสดิการแก่นักกีฬาฟุตบอลอาชีพอัน ได้แก่ ให้มี

                       การท าประกันภัยและให้มีการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับนักกีฬาฟุตบอลอาชีพอันเป็นสวัสดิการที่
                       นักกีฬาพึงได้รับอย่างเท่าเทียมกันทุกคน รวมไปถึงควรก าหนดเรื่องการเลิกจ้างด้วยเหตุอันไม่เป็น

                       ธรรมโดยอ้างเหตุแห่งการบาดเจ็บของนักกีฬาฟุตบอลอาชีพไว้ในสัญญาจ้างด้วย และให้มีการจัดตั้ง

                       กองทุนเพื่อช่วยเหลือนักกีฬาฟุตบอลอาชีพจากการถูกเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม การก าหนดสัญญาจ้าง
                       ที่เป็นมาตรฐานดังกล่าวก็เพื่อให้นักกีฬาฟุตบอลอาชีพได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันทุกคน
                                                                                                      12

                               ในประเด็น ความเหมาะสมในการก าหนดความผิดทางอาญา ศึกษาปัญหาการล้มกีฬาตาม
                       กฎหมายไทย พบว่า ในการจัดการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นในประเทศไทยใช้เงินงบประมาณและเงิน

                       สนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งเมื่อเกิดการล้มกีฬาสมัครเล่นขึ้นย่อมกระทบต่อประโยชน์ของ

                       บุคคล ได้แก่ นักกีฬาผู้เข้าร่วมการแข่งขันที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการล้มกีฬา ประชาชนที่ซื้อบัตรเข้าชม
                       ไม่ได้รับชมการแข่งขันอันสุจริต กระทบต่อประโยชน์ของธุรกิจ ประโยชน์ของรัฐ และก่อให้เกิดผลร้าย

                       ต่อวงการกีฬาโดยรวม ดังนั้นจึงควรก าหนดขอบเขตของความรับผิดทางอาญาฐานล้มกีฬาให้

                       ครอบคลุมการล้มกีฬาสมัครเล่นด้วย ในด้านลักษณะการกระท าความผิด พระราชบัญญัติกีฬามวย
                       และพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ บัญญัติลงโทษการให้หรือรับสินบนเพื่อล้มกีฬา จากการศึกษา

                       เกี่ยวกับวิธีการล้มกีฬาพบว่าไม่ได้มีแต่เฉพาะกรณีให้หรือรับสินบนเพื่อล้มกีฬาเพียงอย่างเดียว ยังคงมี

                       กรณีที่นักกีฬาหรือผู้ตัดสินท าการล้มกีฬาด้วยตนเอง เพื่อน าไปเล่นการพนันโดยมิได้รับอามิสสินจ้าง
                       จากบุคคลอื่นด้วย ซึ่งการล้มกีฬาวิธีนี้กระท าได้ง่ายและมีโอกาสประสบความส าเร็จมากกว่าวิธีให้

                       สินบน เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องในการล้มกีฬาน้อยกว่า ท าให้โอกาสที่ความลับจะถูกเปิดเผยนั้นลด

                       น้อยลงไปด้วย โดยเฉพาะกีฬาประเภทบุคคลที่นักกีฬาท าการแข่งขันคนเดียวการล้มกีฬาโดยมิได้ให้
                       หรือรับสินบนที่มีเจตนาเพื่อแสวงหาประโยชน์จากการพนันสมควรต้องถูกลงโทษทางอาญาเนื่องจาก

                       เป็นพฤติกรรมการทุจริตคอร์รัปชัน แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายจากการพนัน

                       แม้จะมีบทกฎหมายใกลเคียงที่อาจน ามาใช้ลงโทษผู้ล้มกีฬาโดยมิได้รับสินบนได้ คือ พระราชบัญญัติ
                       การพนัน พ.ศ. 2476 และความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 แต่ก็มีอัตรา

                       โทษต ่ามากเมื่อเทียบกับอัตราโทษของการให้หรือรับสินบนเพื่อล้มกีฬาอีกทั้งฐานความผิดใกล้เคียงนี้


                       12  พลสิทธิ์ ยางนิยม, “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิการนักกีฬาอาชีพ: ศึกษากรณีนักกีฬาฟุตบอล”
                       (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561).
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25