Page 22 - 30423_Fulltext
P. 22
16
นอกจากนี้ ยังมีผู้ศึกษาประเด็นปัญหากฎหมายภายในประเทศไม่สอดคล้องกับกฎหมาย
ระหว่างประเทศ ในกรณีกีฬาฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย โดยพบว่า กฎหมายภายในประเทศไทยที่
ถูกใช้ก ากับดูแลวงการกีฬาภายในประเทศ มีความไม่สอดคล้องกับธรรมนูญสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ
ธรรมนูญศาลกีฬาโลก ฯลฯ ซึ่งถือเป็นกฎหมายกีฬาระหว่างประเทศ เพราะได้รับการยอมรับจาก
สังคมกีฬาระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง จนถือได้ว่า เป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ซึ่งความ
ไม่สอดคล้องที่มีนั้นอาจจะท าให้เกิดความเสียหายต่อวงการกีฬาภายในประเทศไทย และอาจส่งผลต่อ
การพัฒนาวงการกีฬาอาชีพ และกีฬาสมัครเล่นภายในประเทศที่อาจท าให้ประเทศไทยไม่สามารถ
พัฒนาจนเป็นผู้น าทางด้านการกีฬาในภูมิภาคได้ในส่วนของสถานะทางกฎหมายของนักกีฬาอาชีพ
พบว่า ประเทศไทยในปัจจุบันมีผู้ที่ประกอบอาชีพ “นักกีฬา” เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จาก
ความเป็นที่นิยมของกีฬาฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยนอกจากนั้นพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ
พ.ศ. 2556 ก็ยังขาดเนื้อหาสาระที่จะเป็นการคุ้มครองนักกีฬาฟุตบอลอาชีพโดยเฉพาะอย่างยิ่งยังขาด
ความเชื่อมโยงกับธรรมนูญของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ และธรรมนูญของศาลกีฬาโลก ซึ่งจะท าให้
เกิดปัญหากรณีข้อพิพาทควรจะต้องน าขึ้นสู่การพิจารณาของศาลกีฬาโลก ทั้งนี้เพราะนักกีฬาอาชีพมี
ความแตกต่างจากแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพราะลักษณะงานมีความ
แตกต่างกัน จึงไม่สามารถน าพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ เพื่อคุ้มครองสิทธิของนักกีฬาอาชีพ
ได้อย่างเต็มที่ รวมไปถึงประเด็นการระงับข้อพิพาท พบว่าปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีองค์กรที่ท า
หน้าที่ระงับข้อพิพาททางการกีฬาเป็นการเฉพาะ ท าให้ด าเนินการไม่เป็นกิจจะลักษณะไม่เป็นระบบ
อีกทั้งผู้มีความรู้ ความช านาญ เกี่ยวกับกฎหมายกีฬามีจ านวนน้อย และระยะเวลาในการด าเนินการ
ใช้เวลานาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการแข่งขันกีฬาและผู้ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งไม่มีช่องทางให้นักกีฬา หรือผู้
ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาที่ได้รับความเสียหายด าเนินการยื่นค าร้องต่อศาลกีฬาโลก ซึ่งเป็นหนึ่งใน
15
ช่องทางระงับข้อพิพาททางการกีฬา ที่ได้รับการยอมรับและยึดถือโดยองค์กรกีฬาระหว่างประเทศ
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสัญญานักกีฬาฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย มีผู้ศึกษาพบว่าสัญญา
จ้างนักกีฬาฟุตบอลอาชีพมีลักษณะพิเศษต่างจากสัญญาจ้างแรงงานในเรื่องสถานที่ท างาน, เวลา
ท างาน,วันหยุด,วันลา,การจ่ายค่าจ้าง,เงื่อนไขการสิ้นสุดสัญญา,เงื่อนไขเมื่อนักฟุตบอลได้รับบาดเจ็บ,
การปฏิบัติตามระเบียบขององค์กรด้านฟุตบอล เป็นต้น อีกทั้งนักกีฬาฟุตบอลอาชีพเป็นอาชีพที่มี
ลักษณะคล้ายอาชีพที่มีความเป็นวิชาชีพ กล่าวคือสโมสรไม่สามารถมีอ านาจบังคับบัญชาในวิธีการ
ท างานของนักฟุตบอลเมื่อลงท าการแข่งขันได้จึงท าให้สัญญาจ้างนักกีฬาฟุตบอลอาชีพมีลักษณะ
แตกต่างออกไป สัญญาจ้างนักกีฬาฟุตบอลอาชีพจึงไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงานโดยแท้โดยมีสถานะทาง
กฎหมายเป็น “สัญญาจ้างแรงงานชนิดพิเศษ” ที่ไม่มีการปรับใช้ตามบทบัญญัติกฎหมายแรงงาน
สัญญาจ้างนักกีฬาฟุตบอลอาชีพจึงเป็นสัญญาไม่มีชื่อชนิดหนึ่งที่คู่สัญญามีอิสระในการก าหนด
15 ปรีดา ม่วงมี, “ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายกีฬาระหว่างประเทศ: ศึกษากรณีกีฬาฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย,”
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค าแหง, 2557).