Page 23 - 30423_Fulltext
P. 23
17
ข้อตกลงได้เท่าที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และปรับใช้กฎหมาย
ตามหลักกฎหมายสัญญาทั่วไปอีกทั้งในปัจจุบันที่สัญญาจ้างนักกีฬาฟุตบอลอาชีพมีการพัฒนาการ
ก าหนดข้อตกลงทางธุรกิจไว้ในสัญญา การน ากฎหมายแรงงานที่มีกรอบกฎหมายที่เคร่งครัดมาปรับใช้
กับสัญญาจึงไม่เป็นการเหมาะสม ลักษณะของสัญญาจ้างนักกีฬาฟุตบอลอาชีพที่ไม่น ากฎหมาย
แรงงานมาปรับใช้กับสัญญามีลักษณะคล้ายสัญญาเช่าต่างตอบแทนชนิดพิเศษที่ศาลฎีกาไทยเคยวาง
หลักว่าไม่ให้น ากฎหมายในเรื่องเช่าบางประการมาปรับใช้กับสัญญาเช่าดังกล่าว เมื่อสัญญาจ้าง
นักกีฬาฟุตบอลอาชีพไม่มีการบังคับตามกฎหมายแรงงาน จึงอาจเกิดปัญหาตามมาในเรื่องความ
คุ้มครองนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ อาทิ สโมสรอาจก าหนดข้อตกลงในสัญญาจ้างที่ไม่คุ้มครองนักฟุตบอล
เท่าที่ควร หรือมีข้อตกลงที่เป็นการเอาเปรียบนักฟุตบอล ดังนั้นประเทศไทยจึงควรมีหลักเกณฑ์ในการ
คุ้มครองนักกีฬา ฟุตบอลอาชีพจากการท าสัญญาจ้าง โดยการก าหนดหลักเกณฑ์ในรูปแบบสัญญาจ้าง
มาตรฐานจากองค์กรที่ควบคุมดูแลด้านฟุตบอล เพื่อน ามาบังคับใช้ในการก าหนดข้อตกลงในสัญญา
จ้างระหว่างสโมสรกับนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังเสนอแนะว่าควรมีการก าหนดข้อตกลง
ในสัญญาจ้างมาตรฐานนักฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยให้มี ข้อก าหนดในลักษณะเดียวกับสัญญาจ้าง
มาตรฐานต่างประเทศ เนื่องจากต่างประเทศมีพัฒนาการ ของสัญญานักกีฬาฟุตบอลอาชีพมาเป็น
ระยะเวลานาน อีกทั้งยังเป็นข้อก าหนดที่เหมาะสมกับ ลักษณะงานและความคุ้มครองนักกีฬาฟุตบอล
อาชีพมากที่สุด
16
ในประเด็นเกี่ยวกับ สถานะทางกฎหมายของเอเย่นต์นักกีฬาฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย
มีผู้วิจัยพบว่า มีการกระท าตามแบบของสัญญามาตรฐานที่ก าหนดโดยสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ โดย
หน้าที่ของเอเย่นต์ที่พบในประเทศไทยนั้น จะท าหน้าที่ในการแนะน านักกีฬาฟุตบอลให้แก่สโมสร
ฟุตบอลรวมถึงรับหน้าที่ในการเจรจาข้อสัญญาจ้างระหว่างนักกีฬากับสโมสรฟุตบอลด้วย โดยเอเย่นต์
จะได้รับค่าตอบแทนที่คิดจากมูลค่าของรายได้ที่นักกีฬาฟุตบอลจะได้รับจากสัญญาจ้าง สถานะของ
สัญญาเอเย่นต์นักกีฬาฟุตบอลอาชีพที่ปรากฎตามหลักกฎหมายไทยจึงเป็นสัญญาไม่มีชื่อชนิดหนึ่ง ซึ่ง
ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักความเชื่อถือและไว้วางใจระหว่างคู่สัญญา โดยคู่สัญญามีอิสระในการก าหนด
ข้อตกลงได้เท่าที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่เอเย่นต์มีความผูกพัน
ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ให้สมกับฐานะของบุคคลผู้ได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจลักษณะงานของ
เอเย่นต์ที่ให้บริการในการจัดหาสโมสรฟุตบอลให้แก่นักกีฬาฟุตบอลหรือจัดหานักกีฬาฟุตบอลให้ตาม
ความต้องการของสโมสรฟุตบอลนั้น มีลักษณะเป็นการให้บริการจัดหางาน ตามความหมายของ
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 แต่อย่างไรก็ตาม การจะน า
พระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การประกอบธุรกิจของเอเย่นต์นักกีฬาฟุตบอลอาชีพในประเทศ
ไทยนั้น ไม่สอดคล้องกับลักษณะของตลาดแรงงานนักกีฬาอาชีพ ที่มีลักษณะแตกต่างจาก
16 สมพล วิธีธรรม, “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสัญญานักกีฬาฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย,” (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต, สาขากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556).