Page 99 - b29420_Fulltext
P. 99

เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงของกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งในระดับพื้นที่ ขณะเดียวกัน ความรู้ที่เกิดขึ้นก็

               ส่งผลต่อการตระหนักรู้ถึงศักยภาพของตนในการใช้คะแนนเสียงสร้างความเปลี่ยนแปลง นำไปสู่การมีส่วนร่วม

               ทางการเมืองในช่วงเวลาเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และนำไปสู่บรรยากาศทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปในด้าน

               บวก มีการซื้อเสียงลดลงและมีความสมานฉันท์เกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของการดำเนิน
               โครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง


                       ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าความสำเร็จในการสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านบวกให้แก่พื้นที่ดำเนินโครงการ

               ประกอบด้วย แกนนำ กระบวนการดำเนินโครงการ องค์ความรู้ วัฒนธรรมและมุมมองเรื่องผลประโยชน์ ดังจะเห็น

               ได้ว่าพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงภายหลังการดำเนินโครงการระดับมาก พื้นที่นั้นจะมีร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่มี

               ความรู้เรื่องการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงผ่านเกณฑ์จำนวนมาก กลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักใน

               ศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลง เห็นคุณค่าคะแนนเสียงของตนและมีพฤติกรรมที่ส่งเสริมต่อการเลือกตั้ง
               สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ทั้งยังมีการบอกต่อประชาสัมพันธ์โครงการ เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์เลือกตั้ง

               สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงในวงกว้าง ด้านผู้สมัครก็มีการหาเสียงที่สร้างสรรค์ ไม่โจมตี นำไปสู่การรับรู้

               ความเปลี่ยนแปลงเรื่องการซื้อเสียงที่ลดลง และความสมานฉันท์ในการเลือกตั้งที่เพิ่มขึ้นทั้งในระหว่างหาเสียงและ

               เมื่อการเลือกตั้งสิ้นสุดลง โดยผู้สมัครทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้ง ไม่มีการคุกคาม สามารถทำงานร่วมกันได้


                       ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าปัจจัยด้าน ‘แกนนำ’ คือเงื่อนไขสำคัญที่สุดที่ทำให้โครงการก่อตัวและเกิดขึ้นได้
               เพราะแกนนำคือเงื่อนไขในการถ่ายทอดความรู้อย่างสำคัญสู่ผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆไม่ว่าจะเป็นผู้นำชุมชน ผู้สมัคร

               และผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อีกทั้งยังเป็นเงื่อนไขที่นำไปสู่การจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อรณรงค์การเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่

               ซื้อสิทธิขายเสียง เป็นข้อต่อเชื่อมประสานหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและภาคประชาชน ติดตามและผลักดันให้

               เกิดการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ในแง่นี้แกนนำจึงเป็น ‘หัวใจ’ สำคัญของการก่อเกิดและขับเคลื่อนโครงการเลือกตั้ง

               สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง  ผ่านกระบวนการ 3 ขั้นตอน ในการสร้างความเข้าใจ การจัดเวทีเสวนา และ

               การรณรงค์อย่างต่อเนื่อง

                       อย่างไรก็ตาม ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นอีกเช่นเดียวกันว่ากระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และ

               ไม่ซื้อสิทธิขายเสียงที่ผ่านมา ยังส่งผลต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับที่จำกัด ดังจะเห็นได้ว่าไม่ใช่ทุกพื้นที่ที่

               เข้าร่วมโครงการจะมีความเปลี่ยนแปลงด้านบวกภายหลังดำเนินโครงการ ขณะเดียวกันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

               ก็แตกต่างกันออกไปในหลายระดับและส่วนมากแม้แต่พื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการก็ยังมีความเปลี่ยนแปลงระดับน้อย

               ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นยังจำกัดทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการนำ

               โครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงมาดำเนินการในพื้นที่โดยแกนนำพลเมืองมีรายละเอียดบาง




                                                                                                           86
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104