Page 98 - b29420_Fulltext
P. 98

หมู่บ้าน เมื่อขั้นแรกประสบความสำเร็จในการสร้างความเข้าใจ ขั้นที่ 2 และ ขั้นที่ 3 ในการจัดเวทีเสวนาร่วม

               ระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตังและการรณรงค์ต่อเนื่องจึงเกิดขึ้นตามมา


                       ผู้ใหญ่บ้านที่ไปพบแกนนำพลเมืองและต้องการให้มีการนำเอาโครงการนี้ไปดำเนินการในพื้นที่ตนเอง
               กล่าวถึงเหตุผลที่ตัดสินใจไปพบแกนนำและขอให้นำโครงการนี้ไปดำเนินการในพื้นที่ว่า “...ตอนแรกผมไปหาก่อน

               คือว่าหนึ่งจะทำยังไง ว่าจะลดค่าใช้จ่ายการเลือกตั้งลงได้ เพราะว่าคิดหัว ต่อการดำรงตำแหน่ง ผลตอบแทนไม่คุ้ม

               หรอกครับ ดูแล้วว่าก่อนหน้านู้นคือแพ้ไม่ได้ ถ้าลงแล้ว แต่ถ้ามีโครงการนี้เข้ามามันจะมีทางออกที่จะอธิบายให้

               พี่น้องชุมชนว่าเป็นอย่างนี้นะ คือพบกันครึ่งทางดีกว่า”


                       นับตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ภายหลังจากแกนนำพลเมืองร้อยเอ็ดสามารถตกลงร่วมกันได้ว่าพวกเขาจะ

               รวมตัวกันขึ้นเป็น ‘สภาพลเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด’ เพื่อดำเนินกิจกรรมโครงการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนา
               ชุมชน ซึ่งสภาพลเมืองร้อยเอ็ดเป็นการรวมตัวกันของภาคประชาชนผู้ที่ขับเคลื่อนกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ใน

               พื้นที่อำเภอต่างๆอยู่แล้วมารวมตัวกันเข้า โดยมุ่งหวังจะสร้างวาระร่วมของภาคประชาชนเพื่อทำให้การเคลื่อนไหว

               มีพลังมากขึ้น โดยหนึ่งในวาระของภาคประชาชนที่ปรากฎตามรายงานการประชุมของสภาพลเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด

               ก็คือเรื่องการเมืองโปร่งใส เนื่องจากพวกเขาเข้าใจความสำคัญและความเชื่อมโยงระหว่างการเมืองที่ดีกับคุณภาพ

               ชีวิตที่ดี ซึ่งการเมืองจะโปร่งใสได้จำเป็นต้องเริ่มต้นจากการเลือกตั้งที่ดี ส่งผลให้การเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อ

               สิทธิขายเสียงกลายเป็นวาระของสภาพลเมืองร้อยเอ็ด จากประเด็นดังกล่าวการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิ
               ขายเสียงที่แกนนำพลเมืองในอำเภอโพนทองได้เคยดำเนินการไว้ จึงได้รับความสนใจจากแกนนำพลเมืองต่าง

               อำเภอนำไปดำเนินการกับการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ของตน โดยนำแนวคิดและขั้นตอนกระบวนการที่แกนนำ

               พลเมืองอำเภอโพนทองลงมือปฏิบัติเป็นตัวแบบในการดำเนินการ โดยพื้นที่ที่นำเอาการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่

               ซื้อสิทธิขายเสียงไปดำเนินการในอำเภอของตนมีจำนวน 5 หมู่บ้าน จาก 5 อำเภอประกอบด้วย อำเภอสุวรรณภูมิ

               อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอหนองฮี อำเภอโพนทราย และอำเภอปทุมรัตต์


               4. ตัวแบบ (model) การเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง สำหรับขยายผลในพื้นที่อื่น

                       ตัวแบบนี้พัฒนาขึ้นโดยอ้างอิงจากผลการศึกษาโครงการวิจัยการขับเคลื่อนการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่

               ซื้อสิทธิขายเสียง จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่แกนนำพลเมืองในจังหวัดร้อยเอ็ดที่เคยได้รับการอบรมพัฒนา

               ศักยภาพโดยสถาบันพระปกเกล้า นำเอากรอบแนวคิดเรื่องการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไป
               ดำเนินการกับการเลือกตั้งระดับท้องที่และระดับท้องถิ่น ในจังหวัดร้อยเอ็ด ครอบคลุม 12 หมู่บ้าน 6 อำเภอ ซึ่งผล

               การศึกษาชี้ให้เห็นว่ากรอบการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงสามารถสร้างความ

               เปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับพื้นที่ที่ดำเนินโครงการได้ ในแง่ความรู้ความเข้าใจเรื่องการเลือกตั้งที่มีคุณภาพ เป็นการ




                                                                                                           85
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103