Page 102 - b29420_Fulltext
P. 102

การประยุกต์ใช้แบบที่ 1 อ้างอิงกับแนวคิด ‘รากฐานประชาธิปไตย’ ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัย 5 ประการ

               คือ มีเหตุผล ซื่อสัตย์ มีวินัย รับผิดชอบและมีจิตสาธารณะ การประยุกต์ใช้ลักษณะนี้ แกนนำจะนำแนวคิดรากฐาน

               ประชาธิปไตยมาใช้โดยเชื่อมโยงกับ ‘คุณลักษณะของผู้นำที่พึงประสงค์’ โดยจะนำคุณลักษณะดังกล่าวเชื่อมกับ

               เรื่องของการขอให้ผู้สมัครทบทวนคุณสมบัติของตนเองก่อนพิจารณาลงสมัคร ซึ่งผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ที่สามารถ
               สร้างการพูดคุยในลักษณะดังกล่าวได้ จะมีแนวโน้มประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขาย

               เสียงมากที่สุด แต่เงื่อนไขสำคัญของการใช้วิธีนี้คือแกนนำหรือผู้นำที่เป็นผู้ชวนคุยเรื่องนี้จะต้องมีความรู้เรื่อง

               รากฐานประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้งและต้องเป็นผู้ที่มี ‘บารมี’ ได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน อย่างไรก็ตาม ข้อพึง

               ระวังในการประยุกต์ใช้แนวคิดรากฐานประชาธิปไตยคือการยื่นข้อเสนอของแกนนำระดับโครงการ ซึ่งส่วนใหญ่

               พบว่าแกนนำมักยื่นข้อเสนอในเรื่องของการ ‘ไม่แข่งขัน’ และยกให้ผู้ที่มีความดีตรงตามคุณสมบัติรากฐาน
               ประชาธิปไตย 5 ประการเป็นผู้นำก่อน ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะทำให้กระบวนการเสริมอำนาจประชาชนในการเลือกตั้ง

               เป็นไปอย่างจำกัดดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น


                       การประยุกต์ใช้แบบที่ 2 อ้างอิงถึงผลลัพธ์เรื่องความสมานฉันท์และการไม่ซื้อสิทธิขายเสียง วิธีการนี้

               ผลการศึกษาพบว่าเป็นวิธีการที่แกนนำพลเมืองที่นำการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไปดำเนินการใน

               พื้นที่เลือกใช้มากที่สุด (แต่ดังที่กล่าวไปแล้วว่าเลือกใช้ในลักษณะที่มีการตีความให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่)

               คือการเข้าหากลุ่มผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายด้วยการอ้างถึงผลลัพธ์เรื่องความสมานฉันท์และการไม่ซื้อสิทธิขายเสียงที่
               เกิดขึ้นคือหนทางที่ปลอดภัยทางความรู้สึกมากที่สุดสำหรับผู้รับฟัง แม้จะถูกตั้งคำถามหรือไม่เห็นด้วย แต่การ

               อ้างอิงกับผลลัพธ์เรื่องความสมานฉันท์และการไม่ซื้อสิทธิขายเสียงก็ทำให้ผู้ดำเนินการสามารถให้คำอธิบายเชิง

               วิชาการที่อิงกับระบอบประชาธิปไตยได้มากกว่า ดังนั้น ส่วนมากในช่วงเริ่มต้นโครงการจะเห็นได้ว่า แกนนำส่วน

               ใหญ่มักเลือกนำเสนอผลลัพธ์เรื่องความสมานฉันท์และการไม่ซื้อสิทธิขายเสียงเป็นตัวตั้งและเป็นโจทย์ในการชวน

               ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายพูดคุยและมักประสบความสำเร็จในการเชิญชวนเข้าร่วมโครงการ ทว่าไม่อาจรับประกันได้ถึง

               ระดับความสำเร็จและความต่อเนื่องของการดำเนินโครงการได้ เพราะยังมีเงื่อนไขอื่นในเรื่องของกระบวนการและ
               การรณรงค์ต่อเนื่องซึ่งขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจที่ทำให้เห็นถึงความสำคัญและความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกตั้ง

               สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น แต่ดังที่กล่าวไปแล้วว่าผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยัง

               มีข้อจำกัดเรื่องความเข้าใจการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงอย่างครบถ้วนซึ่งจะส่งผลต่อความ

               ตระหนักและความสนใจขับเคลื่อนโครงการอย่างต่อเนื่อง


                       นอกจากนั้น การประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงข้างต้นแล้ว
               กิจกรรมและการรณรงค์ต่างๆที่แกนนำดำเนินการก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการ

               ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าแม้แกนนำจะมีกระบวนการดำเนินโครงการที่คู่ขนานกันไประหว่างการจัดเวทีเสวนา



                                                                                                           89
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107